ReadyPlanet.com
dot
บริการงานพิมพ์ทั่วไป
dot
bulletแผ่นพับ/ใบปลิว : รับทำ/พิมพ์
bulletโบรชัวร์ : รับทำ/พิมพ์
bulletแคตตาล็อก : รับทำ/พิมพ์
bulletหนังสือ/วารสาร : รับทำ/พิมพ์
bulletนิตยสาร/แมกกาซีน: รับทำ/พิมพ์
bulletรายงานประจำปี : รับทำ/พิมพ์
bulletโปสเตอร์ : รับทำ/พิมพ์
bulletปฏิทิน : รับทำ/พิมพ์
bulletการ์ด/บัตรเชิญ : รับทำ/พิมพ์
bulletนามบัตร : รับทำ/พิมพ์
bulletหัวจดหมาย : รับทำ/พิมพ์
bulletซองกระดาษ : รับทำ/พิมพ์
bulletแฟ้มกระดาษ : รับทำ/พิมพ์
bulletแบบฟอร์ม : รับทำ/พิมพ์
bulletสิ่งพิมพ์อื่นๆ : รับทำ/พิมพ์
dot
บริการงานพิมพ์บรรจุภัณฑ์
dot
bulletฉลากสินค้า : รับทำ/พิมพ์
bulletกล่องบรรจุภัณฑ์ : รับทำ/พิมพ์
bulletถุงกระดาษ : รับทำ/พิมพ์
dot
บริการด้านอื่น ๆ
dot
bulletรับออกแบบจัดทำต้นฉบับ
bulletรับถ่ายภาพ/ทำรีทัช
dot
เรื่องของกระดาษ
dot
bulletกระดาษ: ความหมาย/ความเป็นมา
bulletองค์ประกอบของกระดาษ
bulletสมบัติเชิงโครงสร้างของกระดาษ
bulletกระบวนการผลิตกระดาษ
bulletชนิดของกระดาษ
bulletมาตรฐานขนาดของกระดาษ
bulletการใช้กระดาษสำหรับงานพิมพ์
dot
เรื่องของการพิมพ์
dot
bulletการพิมพ์: ความหมาย/วิวัฒนาการ
bulletประวัติการพิมพ์ในเมืองไทย
bulletประเภทของการพิมพ์
bulletขบวนการผลิตสิ่งพิมพ์
bulletหลักการเลือกใช้โรงพิมพ์
dot
เรื่องของการออกแบบสิ่งพิมพ์
dot
bulletขบวนการการออกแบบสิ่งพิมพ์
bulletองค์ประกอบและหลักการออกแบบสิ่งพิมพ์
bulletการจัดเลย์เอ้าท์โดยใช้กริด
dot
เรื่องของการถ่ายภาพ
dot
bulletประวัติของกล้องถ่ายภาพ
bulletหลักการทำงานของกล้อง
dot
เรื่องน่ารู้
dot
bulletขั้นตอนการสั่งทำงานพิมพ์
bulletข้อควรระวังในการออกแบบสิ่งพิมพ์
bulletRGB vs CMYK
bulletColour Chart vs โรงพิมพ์
bulletการจดหัวหนังสือ vs โรงพิมพ์
bulletสิ่งพิมพ์โฆษณา/ประชาสัมพันธ์
bulletคุณภาพงานพิมพ์ขึ้นอยู่กับ...
bulletถาม / ตอบ โรงพิมพ์ >>
dot
อื่น ๆ
dot
bulletบริหารและจัดการ


ค้นหาด้วยกูเกิ้ล


การพิมพ์: ความหมาย/วิวัฒนาการ

                         
 

ความหมายและวิวัฒนาการของการพิมพ์ 

   

สารบัญ:  ความหมายของการพิมพ์  วิวัฒนาการของการพิมพ์
 

ความหมายของการพิมพ์

คำว่า “พิมพ์” ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “print” ซึ่งหมายความถึง การผลิตข้อความและภาพโดยใช้ตัวพิมพ์ แม่พิมพ์ หรือ แบบพิมพ์ ซึ่งถูกทาหรือฉาบด้วยหมึกแล้วกดทับลงบนวัสดุที่ต้องการพิมพ์ เช่นกระดาษ ผ้า ตามความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2542 คือ  1) การใช้เครื่องจักรกดตัวหนังสือหรือภาพให้ติดลงบนวัตถุ เช่น กระดาษ ผ้า  2) การทำให้เป็นตัวหนังสือหรือรูปรอยอย่างใด ๆ โดยการกดหรือการใช้พิมพ์หิน เครื่องกล วิธีเคมี หรือวิธีอื่นใด อันอาจให้เกิดเป็นสิ่งพิมพ์ขึ้นมาหลายสำเนา 

ส่วนคำว่า “การพิมพ์” ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “printing” ซึ่งหมายความถึง การผลิตสำเนาข้อความและภาพลงบนวัสดุที่ต้องการพิมพ์ เช่นกระดาษ ผ้า ตามความหมายในพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 คือ การทำให้เป็นตัวหนังสือหรือรูปรอยอย่างใด ๆ โดยการกด หรือ การใช้พิมพ์หิน เครื่องกล วิธีเคมี หรือวิธีอื่นใดให้เกิดเป็นสื่อพิมพ์ขึ้นหลายสำเนา

วิวัฒนาการของการพิมพ์

วิวัฒนาการการพิมพ์เริ่มจากยุคโบราณเมื่อมนุษย์รู้จักการสื่อสารกันด้วยการวาดภาพ การเขียนสัญลักษณ์เป็นรูป ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นตัวอักษรภาพ แล้วจึงเป็นตัวอักษร การพิมพ์ได้เริ่มต้นขึ้นในประเทศจีน ได้มีการสร้างแม่พิมพ์โดยแกะสลักตัวอักษรหรือภาพลงบนท่อนไม้ ก้อนหิน งาช้าง หรือกระดูกสัตว์ แล้วนำแม่พิมพ์ที่ได้ไปกดลงดินเหนียว ขี้ผึ้ง หรือครั่ง ปรากฏเป็นตัวอักษรหรือภาพตามแม่พิมพ์ เมื่อมีการคิดค้นทำกระดาษขึ้น การพิมพ์ก็ได้พัฒนาขึ้นตามลำดับ

วิวัฒนาการการพิมพ์พื้นนูน (Relief Printing) ประมาณปี ค.ศ. 170 ชาวจีนได้มีการคัดลอกตำราและรูปโดยแกะสลักตัวอักษรและรูปบนแผ่นหินให้ส่วนที่เป็นตัวอักษรหรือลายเส้นนูนขึ้น แล้วนำเอากระดาษมาทาบ ใช้ถ่านมาถูจนเกิดภาพตัวอักษรบนกระดาษ ประมาณปี ค.ศ. 400 ชาวจีนชื่อ ไหว่ตัง ได้คิดค้นทำหมึกได้สำเร็จ จึงมีการนำตราประทับซึ่งทำโดยการนำเอาก้อนไม้หรือก้อนหินมาแกะทำเป็นแม่พิมพ์ จุ่มหมึกแล้วประทับบนกระดาษและวัสดุอื่น ๆ  จากการทำตราประทับเล็ก ๆ ได้มีการทำแม่พิมพ์ที่ใหญ่ขึ้นมีข้อความและภาพมากขึ้น สามารถนำแม่พิมพ์ดังกล่าวมาจุ่มหมึกทำสำเนาบนวัสดุใช้พิมพ์ต่าง ๆ ได้เป็นจำนวนมาก ๆ การพิมพ์ลักษณะนี้เรียกว่าการพิมพ์บล็อกไม้ (Wood Block Printing)   ต่อมาในปี ค.ศ. 1040 มีชาวจีนชื่อ ไป่เช็ง ได้คิดค้นแกะตัวอักษรบนแท่งดินเหนียวเป็นตัว ๆ ทำให้แข็งโดยการผึ่งแดดแล้วนำไปเผา เมื่อต้องการใช้ก็นำแท่งดินเหนียวที่มีตัวอักษรที่เกี่ยวข้องมาเรียงเป็นข้อความที่ต้องการ แล้วใช้เป็นแม่พิมพ์สำหรับพิมพ์ ในปี ค.ศ. 1400 ชาวเกาหลีได้คิดค้นประดิษฐ์ตัวพิมพ์ทำจากโลหะผสมระหว่างทองแดงกับดีบุกได้สำเร็จ ทำให้ตัวพิมพ์มีความแข็งแรงมากขึ้น

ทางด้านยุโรป ในปี ค.ศ. 1455 นายโยฮัน กูเตนเบิร์ก (Johann Gutenberg) ได้ประดิษฐ์ตัวพิมพ์โลหะผสมได้สำเร็จเช่นกัน นายกูเตนเบิร์กยังได้พัฒนาเครื่องพิมพ์ หมึกพิมพ์ กระดาษที่ใช้พิมพ์ และกรรมวิธีในการพิมพ์ให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ จึงได้รับการยกย่องเป็น “บิดาแห่งการพิมพ์”  การพิมพ์พื้นนูนที่เรียกเล็ตเตอร์เพรสส์ (Letter Press) นี้จึงเป็นที่นิยมกันมากขึ้น มีการตั้งโรงพิมพ์ขึ้นตามเมืองใหญ่ ๆ และเผยแพร่สู่ประเทศอเมริกา เนื่องจากการเรียงพิมพ์ด้วยมือต้องใช้แรงงานและใช้เวลามาก จึงมีการคิดค้นใช้เครื่องเรียงตัวอักษร (Linecast Typesetting) ซึ่งใช้ความร้อนหล่อตัวพิมพ์ จึงเรียก “ตัวพิมพ์แบบร้อน” (Hot Type) ที่มีชื่อเสียงคือ เครื่องเรียงไลโนไทป์ (Linotype) ซึ่งจะทำการเรียงทีละบรรทัด นิยมใช้ในงานทำแม่พิมพ์หนังสือพิมพ์  และเครื่องเรียงโมโนไทป์ (Monotype) ซึ่งเป็นเครื่องที่เรียงออกมาเป็นตัวต่อกันเป็นบรรทัด นิยมใช้ในงานทำแม่พิมพ์หนังสือ ใน ค.ศ. 1898 ได้มีการประดิษฐ์เครื่องเรียงพิมพ์ด้วยแสงขึ้น (Phototypesetting) ใช้สร้างตัวพิมพ์แบบ “ตัวพิมพ์แบบเย็น” (Cold Type) นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาแม่พิมพ์พื้นนูนแบบแผ่นด้วยการใช้วิธีฉายแสงโดยใช้น้ำยาไวแสงฉาบลงบนแผ่นโลหะที่ใช้เป็นแม่พิมพ์ ทำให้การทำแม่พิมพ์สะดวกขึ้น

เครื่องจักรที่ใช้พิมพ์แบบพื้นนูนในยุคแรก ๆ อาศัยแรงงานในการทำงานเป็นหลัก เป็นเครื่องแบบง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน ต่อมาได้มีการพัฒนาเครื่องพิมพ์ให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ในปี ค.ศ. 1799 นายวิลเลียม นิโคลสัน (William Nicholson) ได้ประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ที่ใช้เครื่องจักรไอน้ำในการทำงานได้สำเร็จ ในช่วงแรกเครื่องพิมพ์มีลักษณะเป็นการป้อนกระดาษแบบแผ่น เมื่อมีความต้องการงานพิมพ์ให้รวดเร็วขึ้น จึงได้มีการคิดค้นประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ที่ป้อนกระดาษแบบเป็นม้วนได้สำเร็จ ต่อมาได้มีการทำแม่พิมพ์ผิวที่นูนเป็นยางธรรมชาติและใช้สีย้อมอะนิลีนเป็นหมึกในการพิมพ์ จึงเรียกชื่อว่า การพิมพ์อะนิลีน (Aniline Printing) เมื่อสีอะลินินถูกห้ามใช้เนื่องจากมีพิษ จึงเลือกใช้หมึกชนิดอื่นและตั้งชื่อการพิมพ์แบบนี้ใหม่ว่า เฟล็กโซกราฟี (Flexography) ระบบเฟล็กโซกราฟีมีการพัฒนาในเวลาต่อมา มีการใช้ยางสังเคราะห์แทนยางธรรมชาติ ใช้หมึกแห้งเร็ว และนำลูกกลิ้งแอนิล็อกซ์ (Anilox Roller) มาช่วยในการจ่ายหมึกไปยังแม่พิมพ์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของระบบเฟล็กโซกราฟีที่ใช่มาจนปัจจุบัน

วิวัฒนาการการพิมพ์พื้นลึก (Recess Printing) ลักษณะการพิมพ์พื้นลึกจะต่างกับการพิมพ์พื้นนูนตรงที่ส่วนที่เป็นภาพที่ต้องการให้ปรากฏหมึกพิมพ์จะเป็นร่องลึกลงไปในแม่พิมพ์เพื่อขังหมึกไว้ส่งผ่านให้วัสดุใช้พิมพ์ต่อไป ชาวจีนเป็นผู้ริเริ่มการพิมพ์ด้วยกรรมวิธีนี้โดยแกะท่อนไม้เป็นร่องลึกและใช้เป็นแม่พิมพ์ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ต่อมาชาวอิตาลี ชื่อ มาโช ฟินิเกอรา (Maso Finigura) ได้ใช้แผ่นทองแดงเป็นแม่พิมพ์แทนท่อนไม้แบบของชาวจีน ในยุคนั้นได้มีการใช้พิมพ์ภาพเหตุการณ์ต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์และภาพทางศาสนา และมีการเรียกกรรมวิธีการพิมพ์นี้ว่า การพิมพ์อินทาโย (Intaglio) ในช่วงแรก การทำแม่พิมพ์ใช้วิธีแกะสลักบนแผ่นโลหะ ต่อมาได้ใช้วิธีการเคลือบแผ่นโลหะด้วยสารที่ทนการกัดกร่อนของกรด ใช้เหล็กขูดสารเคลือบบริเวณส่วนที่ต้องการสร้างภาพแล้วใช้กรดกัดจนเกิดเป็นร่องลึกตามบริเวณที่ถูกขูด จากนั้นก็มีการพัฒนาโดยการกัดแม่พิมพ์โลหะหลุมเล็ก ๆ กระจายตามความเข้มที่ต้องการลงหมึกทำให้เกิดได้ภาพที่มีมิติขึ้น

ในปี ค.ศ. 1844 นายวิลเลียม เฮนรี ฟอกซ์ ทาลบอท (William Henry Fox Talbot) ได้นำเทคนิคการสร้างภาพผ่านแผ่นสกรีนกระจกมาทำแม่พิมพ์โลหะและเรียกกรรมวิธีนี้ว่า โฟโตกราวัวร์ (Photogravure) การพัฒนาระบบกราวัวร์มีอย่างต่อเนื่องและสามารถประดิษฐ์เครื่องกราวัวร์ป้อนกระดาษแบบม้วนด้วยความเร็วสูง ซึ่งเรียกว่า โรโตกราวัวร์ (Rotogravure) ในปี ค.ศ. 1880 และต่อมาก็ได้มีการประดิษฐ์เครื่องกราวัวร์แบบป้อนแผ่นขึ้นในปี ค.ศ. 1913 การพิมพ์กราวัวร์ยังคงมีใช้อยู่จนปัจจุบันนี้ เหมาะสำหรับการพิมพ์งานที่มีปริมาณสูง

ยังมีการพิมพ์พื้นลึกอีกประเภทหนึ่ง คือการพิมพ์แพด (Pad Printing) แม่พิมพ์แพดเป็นแม่พิมพ์แบบพื้นลึกทำจากโลหะหรือ พอลิเมอร์ หลักการพิมพ์ของการพิมพ์ลักษณะนี้คือเมื่อแม่พิมพ์รับหมึกก็จะถ่ายหมึกให้ตัวกลางซึ่งทำจากยางซิลิโคนที่ถูกเรียกว่าแพด (Pad) แพดจะถ่ายโอนหมึกให้กับวัสดุใช้พิมพ์อีกทอดหนึ่ง ก่อนหน้าปี ค.ศ. 1956 มีการใช้เจละตินทำเป็นแพด การพิมพ์ยังใช้เครื่องพิมพ์มืออยู่ งานส่วนใหญ่ใช้พิมพ์หน้าปัดนาฬิกา จานเซรามิก ในปี ค.ศ. 1965 ชาวเยอรมันชื่อ นายวิลเฟรด ฟิลลิปป์ (Wilfred Phillipp) ได้ประดิษฐ์เครื่องพิมพ์แพดขึ้นสำหรับพิมพ์นาฬิกามีชื่อเรียกว่าเครื่องพิมพ์แทมโป (Tempoprint) และในปี ค.ศ. 1968 นายฟิลลิปป์ยังได้ใช้ซิลิโคนมาทำเป็นแพดแทนเจละติน ทำให้งานพิมพ์มีคุณภาพดีขึ้น และยังเป็นวัสดุที่ใช้ในโรงพิมพ์หลาย ๆ แห่งมาจนถึงปัจจุบัน

วิวัฒนาการการพิมพ์พื้นราบ (Planographic Printing) การพิมพ์พื้นราบเกิดภายหลังการพิมพ์เล็ทเตอร์เพรสส์และการพิมพ์อินทาโย ในปี ค.ศ. 1798 นายอะลัว เชเนเฟเดอร์ (Alois Senefelder) ชาวโบฮีเมียนได้มีการประดิษฐ์เครื่องพิมพ์หิน (Lithography) ซึ่งเป็นการพิมพ์พื้นราบ โดยทำภาพที่ต้องการรับหมึกบนแม่พิมพ์หินให้เป็นไข แล้วใช้น้ำผสมกาวกระถินลูบบนแม่พิมพ์หินดังกล่าว น้ำที่ผสมกาวกระถินจะไม่เกาะบริเวณไข และเมื่อคลึงหมึกลงบนแม่พิมพ์ หมึกมีคุณสมบัติเป็นน้ำมันจะไม่เกาะติดบริเวณที่เป็นน้ำแต่จะไปเกาะติดบริเวณที่เป็นไขซึ่งเป็นบริเวณที่เป็นภาพ เมื่อนำแผ่นกระดาษมาทาบบนแม่พิมพ์ก็จะเกิดภาพบนกระดาษนั้นและให้ภาพที่คมชัดสวยงามกว่าระบบการพิมพ์อื่นในยุคนั้น

ในปี ค.ศ. 1905 ชาวอเมริกันชื่อนายไอรา วอชิงตัน รูเบล (Ira Washington Rubel) ได้ค้นพบวิธีทำให้ภาพคมชัดขึ้นโดยบังเอิญ กล่าวคือ แทนที่จะให้กระดาษรับหมึกโดยตรงจากแม่พิมพ์ ก็ให้ผ้ายางเป็นผู้กดทับและรับหมึกจากแม่พิมพ์ก่อน แล้วผ้ายางจึงกดทับถ่ายหมึกที่เป็นภาพพิมพ์ไปยังกระดาษอีกที เนื่องจากผ้ายางมีความนิ่ม การส่งถ่ายหมึกจึงสมบูรณ์ ภาพจึงคมชัดสวยงามยิ่งขึ้น การพิมพ์ที่มีการถ่ายทอดภาพพิมพ์สองครั้งนี้ถูกเรียกว่าการพิมพ์ออฟเซ็ท (Offset Printing)

การพิมพ์ระบบออฟเซ็ทมีการพัฒนาในหลายด้าน มีการใช้แม่พิมพ์เป็นแผ่นโลหะ เคลือบสารไวแสงลงบนแม่พิมพ์ ปรับปรุงการสร้างภาพบนแม่พิมพ์ที่มีความละเอียดสูงขึ้น มีการคิดค้นการพิมพ์ออฟเซ็ทแบบไร้น้ำโดยใช้แม่พิมพ์ที่เคลือบด้วยซิลิโคนซึ่งไม่ถูกกับน้ำมันและส่วนที่เป็นภาพนั้นซิลิโคนจะถูกกัดออกไป อีกทั้งมีการพัฒนาเครื่องพิมพ์ให้พิมพ์งานเร็วขึ้น แม่นยำขึ้น คุณภาพงานพิมพ์ดีขึ้น พิมพ์สอดสีได้ในการพิมพ์เที่ยวเดียว มีทั้งเครื่องพิมพ์แบบป้อนแผ่นและเครื่องพิมพ์แบบป้อนม้วน เนื่องจากคุณภาพงานพิมพ์ที่ดีและมีความคล่องตัวสูง การพิมพ์ระบบออฟเซ็ทจึงเป็นที่นิยมและใช้กันอย่างแพร่หลายและกว้างขวางตามโรงพิมพ์ต่าง ๆ จนถึงปัจจุบัน

วิวัฒนาการการพิมพ์พื้นฉลุ การพิมพ์พื้นฉลุมีมาตั้งแต่ยุคโบราณโดยทำแม่พิมพ์แบบง่าย ๆ ด้วยการตัดเจาะกระดาษหรือวัสดุอื่นเป็นช่องตามลักษณะของรูปที่ต้องการ ทาบแม่พิมพ์ลงบนสิ่งที่ต้องการพิมพ์แล้วใช้หมึกพ่นหรือปาดบนแม่พิมพ์ ก็จะได้ภาพดังกล่าว การพิมพ์แบบนี้ว่า การพิมพ์สเตนซิล (Stencil Printing) ในยุคแรก ๆ มีการพิมพ์ตัวอักษร เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ ด้วยวิธีดังกล่าว ประเทศจีนได้ใช้กรรมวิธีนี้พิมพ์ภาพบนผ้าตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 6 การพิมพ์แบบนี้มักมีปัญหาคือ แม่พิมพ์ซึ่งทำจากกระดาษหรือวัสดุอื่นในสมัยนั้นไม่ค่อยแข็งแรง จึงพิมพ์ชิ้นงานได้น้อย และลวดลายของภาพหรือตัวอักษรจะมีบางส่วนขาดตอนไปเนื่องจากการตัดแม่พิมพ์ต้องเหลือส่วนของเนื้อแม่พิมพ์สำหรับยึดติดกันไม่หลุดลุ่ย ทำให้งานพิมพ์ดูไม่สวยงาม ต่อมามีการใช้แผ่นโลหะทำเป็นแม่พิมพ์เพื่อให้แม่พิมพ์แข็งแรงขึ้น แต่เป็นการสร้างความลำบากในการทำแม่พิมพ์และใช้เวลาในการทำ

ต่อมามีการพัฒนาให้กระดาษทนทานขึ้น และมีผู้นำกระดาษไปเคลือบไขแล้วใช้โลหะปลายแหลมทิ่มด้วยมือลงบนกระดาษไขเป็นรูเล็ก ๆ เรียงกันให้เป็นภาพขึ้น ถึงแม้จะทำให้ได้งานที่ดีขึ้นแต่เป็นงานที่ใช้ฝีมือและเวลาในการทำ ในปี ค.ศ. 1876 นายโทมัส เอดิสัน (Thomas Edison) ได้ประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ที่ใช้หลักการดังกล่าวได้สำเร็จ เรียกว่าเครื่องพิมพ์โรเนียว หรือเครื่องทำสำเนาสเตนซิล (Stencil Duplicator) และยังประดิษฐ์ปากกาสเตนซิล (Stencil Pen) ใช้แทนโลหะปลายแหลม ต่อมามีพัฒนาวิธีการสร้างภาพบนกระดาษไขโดยใช้วิธีการฉายแสงซึ่งก็ใช้ได้จนถึงปัจจุบัน

ย้อนกลับไปในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ชาวญี่ปุ่นได้ใช้เส้นผมของคนและกาวมาทำแม่พิมพ์แบบฉลุขึ้น ทำให้ได้งานที่ละเอียดกว่าการตัดกระดาษ เรียกกรรมวิธีการพิมพ์นี้ว่า การพิมพ์แฮร์สแตนซิล (Hair Stencil) และต่อมาได้มีการใช้เส้นไหมซึ่งแข็งแรงกว่ามาใช้ทำแม่พิมพ์แทนเส้นผม จึงมีชื่อเรียกกรรมวิธีนี้ว่า การพิมพ์ซิลค์สกรีน (Silkscreen Printing) การพิมพ์ซิลค์สกรีนได้แพร่เข้าไปในยุโรปและเป็นที่นิยมทั้งในฝรั่งเศสและอังกฤษ และถูกเผยแพร่ไปยังทวีปอเมริกา ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ชาวอเมริกันชื่อนายชาลส์ เนลสัน โจนส์ (Charles Nelson Jones) ได้ประดิษฐ์เครื่องพิมพ์สกรีนขึ้นสำเร็จ ทำให้การพิมพ์สกรีนผลิตงานรวดเร็วขึ้น การพิมพ์ซิลค์สกรีนได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมีการใช้อย่างกว้างขวางเนื่องจากต้นทุนต่ำและทำงานง่าย ในปัจจุบันมีการใช้ผ้าใยสังเคราะห์แทนผ้าไหมในการทำแม่พิมพ์ และใช้สารไวแสงเคลือบก่อนที่จะนำภาพต้นแบบทาบแล้วสร้างภาพด้วยการฉายแสง

วิวัฒนาการการพิมพ์ดิจิตอล (Digital Printing) ในอีกด้านหนึ่งได้มีพัฒนาการด้านคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่องหลังจากที่มีการประดิษฐ์คอมพิวเตอร์ตัวแรกคือ อีนีเอค ENIAC (Electronic Numerical Integrator and Computer) ในปีค.ศ. 1945 เครื่องพิมพ์ที่ต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์ในยุคแรก ๆ ใช้พิมพ์เฉพาะตัวอักษรโดยไม่ได้เน้นความสวยงาม ประมาณปีค.ศ. 1979 ได้มีการบริษัทหลายบริษัทจำหน่ายเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเรียกว่า ไมโครคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์ก็มีการพัฒนาตามมาด้วย เครื่องพิมพ์ต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์หรือพริ้นเตอร์ได้มีการพัฒนาเช่นกัน ได้มีการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องพริ้นเตอร์โดยใช้หลักการพิมพ์แบบต่าง ๆ เช่น

    การพิมพ์แบบถ่ายโอนความร้อน (Thermal Transfer Printing) ซึ่งใช้หลักการถ่ายความร้อนจากหัวพิมพ์ไปยังฟิล์มที่เคลือบด้วยหมึกพิมพ์ทำให้หมึกพิมพ์หลุดไปเกาะติดกับวัสดุใช้พิมพ์จนเกิดเป็นภาพ

    การพิมพ์แบบพ่นหมึก/อิงค์เจ็ท (InkJet Printing) ซึ่งใช้หลักการพ่นหยดหมึกเล็ก ๆ จากหัวพ่นไปสร้างเป็นภาพบนวัสดุใช้พิมพ์

    การพิมพ์แบบไฟฟ้าสถิตย์ (Electrostatic Printing) ซึ่งใช้หลักการควบคุมลำแสงสร้างภาพเป็นประจุไฟฟ้าบนกระบอกโลหะแล้วให้ผงหมึกไปเกาะบนกระบอกโลหะตามบริเวณที่มีประจุอยู่เกิดเป็นภาพที่ถูกถ่ายทอดไปเกาะติดบนวัสดุใช้พิมพ์อีกทีหนึ่ง เครื่องพิมพ์แบบไฟฟ้าสถิตย์ที่ใช้ลำแสงเป็นแสงเลเซอร์จะเรียกว่า เครื่องพิมพ์เลเซอร์ หรือ เลเซอร์พริ้นเตอร์ (Laser Printer)

อนึ่งพริ้นเตอร์ที่ใช้หลักการตามที่กล่าวมานี้ต่างได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพดีขึ้นเรื่อย ๆ และสามารถพิมพ์สอดสีได้ภาพที่มีสีสันใกล้เคียงต้นฉบับ แต่มีข้อเสียคือได้ผลผลิตต่ำเมื่อเทียบกับเครื่องพิมพ์ระบบออฟเซ็ท จนในปี 1993 ได้มีการจำหน่ายพริ้นเตอร์ที่มีความเร็วสูงชื่อ E-Print 1000 ซึ่งได้รับการพัฒนาจนถึงปัจจุบันโดยใช้ชื่อ HP Indigo  ส่วนบริษัทหลาย ๆ แห่งเช่น Xerox, Canon, Minolta ต่างได้ออกเครื่องพริ้นเตอร์ความเร็วสูงโดยใช้หลักการของเครื่องถ่ายเอกสารสีแบบเลเซอร์ นอกจากนี้ยังมีระบบการพิมพ์อีกแบบหนึ่งที่ใช้เครื่องพิมพ์ออฟเซ็ทมาดัดแปลงโดยสร้างแม่พิมพ์บนโมลเพลทจากข้อมูลในคอมพิวเตอร์ก่อนทำการพิมพ์ การพัฒนาการพิมพ์ดิจิตอลยังคงดำเนินต่อไปทั้งด้านคุณภาพที่ดีขึ้น ความเร็วในการพิมพ์ที่สูงขึ้น ค่าใช้จ่ายต่อแผ่นพิมพ์ที่ถูกลง ปัจจุบัน โรงพิมพ์ต่างเริ่มนำเครื่องพิมพ์ประเภทนี้มาให้บริการสำหรับงานสั้น ๆ
 

 

ดูงานพิมพ์เพิ่มเติมของโรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์:


โรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์รับพิมพ์แผ่นพับ/พิมพ์ใบปลิว
พิมพ์แผ่นพับ/ใบปลิว


โรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์รับพิมพ์โบรชัวร์
พิมพ์โบรชัวร์

โรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์รับพิมพ์แคตตาล็อก
พิมพ์แคตตาล็อก

โรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์รับพิมพ์หนังสือ/พิมพ์วารสาร
พิมพ์หนังสือ/วารสาร

โรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์รับพิมพ์นิตยสาร
พิมพ์นิตยสาร

โรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์รับพิมพ์รายงานประจำปี
พิมพ์รายงานประจำปี

โรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์รับพิมพ์โปสเตอร์
พิมพ์โปสเตอร์

โรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์รับพิมพ์ปฏิทิน
พิมพ์ปฏิทิน

โรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์รับพิมพ์การ์ดเชิญ/การ์ดประเภทต่าง ๆ
พิมพ์การ์ด/บัตรเชิญ

โรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์รับพิมพ์นามบัตร
พิมพ์นามบัตร

โรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์รับพิมพ์กระดาษหัวจดหมาย
พิมพ์หัวจดหมาย

โรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์รับพิมพ์ซองกระดาษ
พิมพ์ซองกระดาษ

โรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์รับพิมพ์แฟ้มกระดาษ
พิมพ์แฟ้มกระดาษ

โรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์รับพิมพ์แบบฟอร์ม
พิมพ์แบบฟอร์ม
   

โรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์รับพิมพ์ฉลากสินค้า
พิมพ์ฉลากสินค้า

โรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์รับพิมพ์กล่องกระดาษ/กล่องบรรจุภัณฑ์
พิมพ์กล่องบรรจุภัณฑ์

โรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์รับพิมพ์ถุงกระดาษ
พิมพ์ถุงกระดาษ
 
 
 

 

สร้างคุณค่าของสินค้า
               ด้วยถุงกระดาษเท่ๆ
สุพรีมพริ้นท์ ผู้เชี่ยวชาญทำ ถุงกระดาษ
สุพรีมพริ้นท์ ช่วยทำถุงของคุณให้เด่นเป็นสง่า 

สุพรีมพริ้นท์
โรงพิมพ์ถุงกระดาษ ถุงช้อปปิ้ง (Shopping bags) ถุงหูหิ้ว ถุงใส่ของ ถุงน้ำตาล ถุงร้อยเชือก ถุงโฆษณา เรารับทำถุงกระดาษทุกประเภท ราคาย่อมเยา

« ดูรายละเอียดบริการทำถุงกระดาษ

 สายด่วนติดต่อฝ่ายขาย 
       โทร : 0 2722 08600 2321 3452 ต่อ 103
     email : 
sales.supremeprint@gmail.com  
       
 line : Supremeprint
 

 เรียนรู้เรื่องการถ่ายภาพ  

พบกับเนื้อหาทฤษฎีและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับ  
การถ่ายภาพ

 • ประวัติของกล้องถ่ายภาพ 
 • หลักการทำงานของกล้อง 
 • หลักการถ่ายภาพขั้นพื้นฐาน  
 • เคล็ดลับการถ่ายภาพ/อัลบั้มภาพ 

 

 
 

กลับหน้าแรกโรงพิมพ์