
ประวัติการพิมพ์ในเมืองไทย ประวัติการพิมพ์ในประเทศไทยสารบัญ: ความเป็นมา • ธุรกิจการพิมพ์ในประเทศไทย • องค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวกับธุรกิจการพิมพ์ในประเทศไทย
ความเป็นมาการพิมพ์ในเมืองไทยได้รับเทคโนโลยีจากชาวตะวันตกตั้งแต่ยุคกรุงศรีอยุธยา ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชโดยบาทหลวงชาวฝรั่งเศส ชื่อ หลุยส์ ลาโน (Loius Laneau) ได้ตั้งโรงพิมพ์แห่งแรกขึ้นในปี พ.ศ. 2205 เพื่อพิมพ์คำสอนศาสนาคริสต์ ไวยากรณ์ไทยและบาลี พจนานุกรมไทย ต่อมาได้มีการตั้งโรงพิมพ์หลวงขึ้นในพระราชวังที่ลพบุรี การพิมพ์ในสมัยนั้นใช้ตัวอักษรโรมันมาเรียงพิมพ์ ส่วนภาษาไทยใช้ไม้มาแกะเป็นหน้าทั้งหน้าใช้เป็นแม่พิมพ์ ในพ.ศ. 2229 สมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ส่งคณะทูตนำโดยเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ไปเจริญสัมพันธไมตรียังประเทศฝรั่งเศส เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ได้มีโอกาสศึกษางานที่โรงพิมพ์หลวงของฝรั่งเศสและได้กลับมาพัฒนาการพิมพ์ในเมืองไทย การพิมพ์ไทยได้หยุดชะงักไปในสมัยสมเด็จพระเพทราชา ในรัชสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก บาทหลวงการ์โนลต์ (Arnoud Antioine Garnault) ได้เข้ามาประเทศไทยและได้ตั้งโรงพิมพ์ขึ้นในโบสถ์ซันตาครูส ฝั่งธนบุรี ในปี พ.ศ. 2339 ในรัชกาลต่อๆ มา ก็มีการตั้งโรงพิมพ์เพิ่มขึ้นอีก โดยโรงพิมพ์ส่วนใหญ่มีชาวตะวันตกเป็นเจ้าของ และเริ่มมีที่เป็นของคนไทยคือ โรงพิมพ์วัดบวรนิเวศวิหารของเจ้าฟ้ามงกุฎในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาเจ้าฟ้ามงกุฎได้ลาสิกขาบทมาขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรงตั้งโรงพิมพ์ขึ้นอีกแห่งในเขตพระบรมมหาราชวัง ทรงตั้งชื่อว่า “โรงอักษรพิมพการ” ถือเป็นโรงพิมพ์หลวงในสมัยนั้น พระองค์ยังเป็นผู้นำการพิมพ์ที่ใช้แม่พิมพ์เป็นหิน (Lithography) มาใช้ในเมืองไทยครั้งแรก ทำให้การพิมพ์ในเมืองไทยมีความก้าวหน้าทัดเทียมต่างประเทศ พระองค์จึงทรงได้รับการยกย่องเป็น “พระบิดาแห่งการพิมพ์ไทย” ในยุคนั้น หมอแดน บีช บรัดเลย์ (Dan Beach Bradley) ได้รับกิจการโรงพิมพ์จากคณะมิชชันนารีมาดำเนินการต่อและได้ทำในเชิงการค้า จึงถือเป็นบุคคลแรกในประเทศไทยที่ทำโรงพิมพ์เชิงธุรกิจ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทยขึ้นและนำมาใช้ในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2435 ส่วนในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เริ่มมีการตั้งโรงงานผลิตกระดาษในเชิงอุตสาหกรรมขึ้น กิจการโรงพิมพ์ได้เจริญเติบโตและมีการเปิดโรงพิมพ์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน โรงพิมพ์ในปัจจุบันนี้มีเทคโนโลยีทัดเทียมกับต่างประเทศ คุณภาพของงานพิมพ์ก็ไม่ด้อยไปกว่าของโรงพิมพ์ในประเทศชั้นนำทั้งหลาย มีเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ทันสมัย และระยะเวลาในการผลิตสั้นลงกว่าโรงพิมพ์ในยุคก่อนๆ ราคาค่าจ้างพิมพ์ต่ำลงกว่าแต่ก่อน และถือว่าเป็นราคาที่ถูกเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ทั้งนี้เนื่องมาจากการแข่งขันที่ค่อนข้างสูง การเจริญเติบโตของโรงพิมพ์ขึ้นอยู่กับปริมาณความต้องการของตลาดสำหรับงานพิมพ์ประเภทรับจ้าง ส่วนงานพิมพ์ที่เป็นของโรงพิมพ์เอง เช่น นิตยสาร หนังสือต่างๆ การเติบโตก็ขึ้นอยู่กับการทำตลาดของโรงพิมพ์เอง ธุรกิจการพิมพ์ในประเทศไทย
ธุรกิจการพิมพ์ในประเทศไทยในที่นี้จะกล่าวเฉพาะธุรกิจการพิมพ์บนวัสดุที่เป็นกระดาษ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการพิมพ์แบ่งตามส่วนของงานแยกได้ดังนี้ ธุรกิจด้านการจัดทำวัตถุดิบสำหรับการพิมพ์ คือธุรกิจที่เป็นผู้ป้อนวัตถุดิบให้กับโรงพิมพ์ ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตกระดาษ ซึ่งรวมถึงผู้ปลูกป่า ผู้ผลิตเยื่อกระดาษ จนถึง โรงงานผลิตกระดาษ อุตสาหกรรมผลิตหมึกพิมพ์ อุตสาหกรรมทำเพลทเคลือบสารเคมี อุตสาหกรรมผลิตสารเคมีต่างๆ ฯลฯ อุตสาหกรรมเหล่านี้ บางอุตสาหกรรมเป็นการลงทุนที่สูงและต้องวางแผนระยะยาว เช่นอุตสาหกรรมผลิตกระดาษ ต้นทุนในการผลิตสิ่งพิมพ์แต่ละงานก็จะตกอยู่ที่ค่ากระดาษเป็นหลักซึ่งจะมีราคาขึ้นๆ ลงๆ ตามความต้องการใช้และสภาวะของตลาดโลก ดังนั้น กระดาษจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตสิ่งพิมพ์
ธุรกิจด้านการจำหน่ายเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการพิมพ์ ได้แก่ผู้จำหน่ายเครื่องพิมพ์ออฟเซ็ทขนาดต่างๆ เครื่องพิมพ์ซิลค์สกรีน เครื่องพิมพ์ดิจิตอล เครื่อง Imagesetter เครื่อง Platesetter เครื่องตัดเจียน เครื่องเย็บกระดาษ เครื่องไสสันทากาว เครื่องปั้ม คอมพิวเตอร์อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการพิมพ์ รวมไปถึงซอฟแวร์ต่างๆ ที่ใช้ในการออกแบบจัดทำต้นฉบับและการควบคุมการพิมพ์ ในบรรดาเครื่องจักรและอุปกรณ์ทั้งหลายเหล่านี้ เครื่องพิมพ์ออฟเซ็ทจะเป็นเครื่องจักรที่ใช้ทุนสูง เครื่องพิมพ์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันส่วนใหญ่ผลิตในประเทศเยอรมัน และ ประเทศญี่ปุ่น เครื่องพิมพ์ที่ดีประกอบกับการจัดการที่ดีจะทำให้ผลงานการพิมพ์ออกมาดีด้วย ธุรกิจด้านการกระจายสื่อสิ่งพิมพ์ งานพิมพ์หลายๆ งาน อาจจะสิ้นสุดเมื่อลูกค้าได้รับชิ้นงานพิมพ์ เช่น สิ่งพิมพ์บรรจุภัณฑ์ แต่มีงานบางประเภทที่ยังต้องมีขั้นตอนต่อไปเช่น การส่งสิ่งพิมพ์กระจายไปให้ผู้รับรายย่อยเพื่อหวังผลทางโฆษณา/ประชาสัมพันธ์ ซึ่งได้แก่ สิ่งพิมพ์ประเภทไดเรกเมล์ วารสารต่างๆ องค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวกับธุรกิจการพิมพ์ในประเทศไทยในปัจจุบันนี้ ผู้ประกอบการพิมพ์ในประเทศไทยมีการรวมตัวจัดตั้งเป็นองค์กรต่างๆ สร้างความเข้มแข็งแก่อุตสาหกรรมการพิมพ์ของไทย องค์กรเหล่านี้ได้แก่ สหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ สมาคมการพิมพ์สกรีนไทย
สมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย
สมาคมบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกไทย
กลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์กระดาษ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
สมาคมแยกสีแม่พิมพ์เพื่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย ชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย
สมาคมการพิมพ์ไทย
สมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์ สมาคมการค้าผู้ผลิตและจำหน่ายวัสดุอุปกรณ์การพิมพ์ไทย โรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์ ผู้เชี่ยวชาญงานพิมพ์ทุกชนิดทุกประเภทไม่ว่างานเล็ก/งานใหญ่ บริการพิมพ์งานคุณภาพมาตรฐานด้วยประสบการณ์ในธุรกิจโรงพิมพ์มายาวนาน รับพิมพ์ทั้งงานเล็ก/งานใหญ่ พิมพ์สีเดียว พิมพ์สี่สี พิมพ์สอดสี หรือพิมพ์ด้วยระบบออฟเซ็ท ระบบดิจิตอล ซิ้วค์สกรีน ฯลฯ ราคายุติธรรม ส่งมอบงานพิมพ์ตรงเวลา รับให้คำปรึกษาด้านออกแบบ/งานพิมพ์
|