ReadyPlanet.com
dot
บริการงานพิมพ์ทั่วไป
dot
bulletแผ่นพับ/ใบปลิว : รับทำ/พิมพ์
bulletโบรชัวร์ : รับทำ/พิมพ์
bulletแคตตาล็อก : รับทำ/พิมพ์
bulletหนังสือ/วารสาร : รับทำ/พิมพ์
bulletนิตยสาร/แมกกาซีน: รับทำ/พิมพ์
bulletรายงานประจำปี : รับทำ/พิมพ์
bulletโปสเตอร์ : รับทำ/พิมพ์
bulletปฏิทิน : รับทำ/พิมพ์
bulletการ์ด/บัตรเชิญ : รับทำ/พิมพ์
bulletนามบัตร : รับทำ/พิมพ์
bulletหัวจดหมาย : รับทำ/พิมพ์
bulletซองกระดาษ : รับทำ/พิมพ์
bulletแฟ้มกระดาษ : รับทำ/พิมพ์
bulletแบบฟอร์ม : รับทำ/พิมพ์
bulletสิ่งพิมพ์อื่นๆ : รับทำ/พิมพ์
dot
บริการงานพิมพ์บรรจุภัณฑ์
dot
bulletฉลากสินค้า : รับทำ/พิมพ์
bulletกล่องบรรจุภัณฑ์ : รับทำ/พิมพ์
bulletถุงกระดาษ : รับทำ/พิมพ์
dot
บริการด้านอื่น ๆ
dot
bulletรับออกแบบจัดทำต้นฉบับ
bulletรับถ่ายภาพ/ทำรีทัช
dot
เรื่องของกระดาษ
dot
bulletกระดาษ: ความหมาย/ความเป็นมา
bulletองค์ประกอบของกระดาษ
bulletสมบัติเชิงโครงสร้างของกระดาษ
bulletกระบวนการผลิตกระดาษ
bulletชนิดของกระดาษ
bulletมาตรฐานขนาดของกระดาษ
bulletการใช้กระดาษสำหรับงานพิมพ์
dot
เรื่องของการพิมพ์
dot
bulletการพิมพ์: ความหมาย/วิวัฒนาการ
bulletประวัติการพิมพ์ในเมืองไทย
bulletประเภทของการพิมพ์
bulletขบวนการผลิตสิ่งพิมพ์
bulletหลักการเลือกใช้โรงพิมพ์
dot
เรื่องของการออกแบบสิ่งพิมพ์
dot
bulletขบวนการการออกแบบสิ่งพิมพ์
bulletองค์ประกอบและหลักการออกแบบสิ่งพิมพ์
bulletการจัดเลย์เอ้าท์โดยใช้กริด
dot
เรื่องของการถ่ายภาพ
dot
bulletประวัติของกล้องถ่ายภาพ
bulletหลักการทำงานของกล้อง
dot
เรื่องน่ารู้
dot
bulletขั้นตอนการสั่งทำงานพิมพ์
bulletข้อควรระวังในการออกแบบสิ่งพิมพ์
bulletRGB vs CMYK
bulletColour Chart vs โรงพิมพ์
bulletการจดหัวหนังสือ vs โรงพิมพ์
bulletสิ่งพิมพ์โฆษณา/ประชาสัมพันธ์
bulletคุณภาพงานพิมพ์ขึ้นอยู่กับ...
bulletถาม / ตอบ โรงพิมพ์ >>
dot
อื่น ๆ
dot
bulletบริหารและจัดการ


ค้นหาด้วยกูเกิ้ล


> Miscellaneous

Miscellaneous

                         

เรื่องจิปาถะของการถ่ายภาพ

เรียบเรียงโดย สุพรีมพริ้นท์ โรงพิมพ์คุณภาพ รับงานพิมพ์และงานรีทัชภาพ
 
สำหรับช่างภาพใหม่ การถ่ายรูปอาจจะคิดเพียงแค่ว่ายกกล้องขึ้นเล็งภาพแล้วกดชัตเตอร์ ก็เป็นอันเสร็จสิ้น แต่ถ้าจะยกระดับการถ่ายภาพหรือสนใจที่จะเป็นช่างภาพมืออาชีพ ยังมีสิ่งที่ต้องเรียนรู้และฝึกฝนอีกหลายอย่าง เริ่มจากการหาหัวเรื่องที่จะถ่าย จัดองค์ประกอบของภาพ รอแสงที่เป็นใจ ฯลฯ ข้อความต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งที่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาการถ่ายภาพ

รู้จักองค์ประกอบของภาพ

ก่อนเริ่มทำการถ่ายภาพควรศึกษาการจัดองค์ประกอบของภาพ กล่าวคือ การกำหนดจุดสนใจของภาพ ซึ่งอาจเป็นวัตถุหรือบุคคล ฯลฯ ที่จะเป็นจุดที่ให้ความสำคัญที่สุด และเป็นจุดที่คมชัดที่สุดของภาพ จุดสนใจแทนที่จะให้อยู่ตรงกลางของภาพ ก็ให้จัดอยู่ในหนึ่งในสี่จุดของกฎสามส่วน (Rule of Thirds) ลองใช้เส้นนำสายตาซึ่งอาจจะเป็นเส้นตรงหรือเส้นโค้งของถนน สายน้ำ แนวต้นไม้ ฯลฯ นำไปสู่จุดสนใจ หรือจะลองทำภาพเป็นแบบมีมิติ ลองสำรวจรอบๆ ถ่ายจากมุมสูงบ้าง มุมเงยขึ้นบ้าง

อ่านเพิ่มเติมได้ที่: องค์ประกอบของภาพ

แสงที่ดี

หัวใจของการถ่ายภาพอยู่ที่ว่ามีแสงที่เพียงพอสำหรับการถ่ายหรือไม่ การที่มีแสงน้อยไปภาพจะออกมามืด หากแก้ไขโดยการเปิดความเร็วชัตเตอร์ต่ำๆ เพื่อรับแสงเพิ่มก็จะทำให้ภาพไหว แต่หากตั้งความไวแสงของหน่วยรับภาพสูงขึ้นก็จะทำให้เกิดเม็ดสี ภาพที่มืดแม้จะใช้โปรแกรมตกแต่งภาพในภายหลังก็แก้ได้เพียงระดับหนึ่งและมักจะได้ภาพคุณภาพต่ำ ในทางตรงข้ามหากจุดที่จะถ่ายภาพมีแสงที่แรงมาก ก็จะพบเงาดำมืดที่ขาดรายละเอียดให้เห็น ปัญหาเหล่านี้จะแก้ไขได้หากเรามีอุปกรณ์เกี่ยวกับแสง
หากใช้แสงธรรมชาติ ช่วงเวลาที่แสงเหมาะสำหรับการถ่ายภาพนอกสถานที่คือหลังพระอาทิตย์ขึ้นและก่อนพระอาทิตย์ตก จะได้แสงที่อ่อนและเงาของวัตถุต่างๆ ทอดยาว แสงที่แรงกล้าในช่วงระหว่างวันก็สามารถนำมาใช้ในภาพที่เล่นกับลักษณะและรูปแบบของเงาที่เกิดขึ้นก็ได้

เตรียมอุปกรณ์เกี่ยวกับแสง

การอาศัยแสงธรรมชาติอย่างเดียวอาจทำให้การถ่ายภาพถูกจำกัด อุปกรณ์ที่ควรมีอย่างน้อยที่สุดคือฉากสะท้อนแสง ซึ่งบางรุ่นสามารถม้วนเก็นได้ ใช้สำหรับสะท้อนแสงส่องไปยังบริเวณที่มืดของแบบทำให้เห็นรายละเอียดบริเวณนั้นมากขึ้น หากไม่ได้พกติดตัวก็ใช้กระดาษขาวแผ่นใหญ่แทนได้ แฟลชก็เป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์มาก หากสามารถซื้อแฟลชที่ทำงานได้โดยแยกออกจากตัวกล้องจะช่วยให้เราสามารถวางตำแหน่งแสงได้ แต่ถ้าหากเป็นแฟลชที่ติดกับตัวกล้อง เวลาถ่ายแสงจะเข้าด้านหน้าของแบบทำให้ภาพของแบบแบนขาดมิติ ควรใช้อุปกรณ์กระจายแสงติดที่หัวแฟลชจะทำให้แสงนุ่มนวลขึ้น

รู้วิธีใช้กล้อง

ก่อนนำกล้องไปใช้ควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับกล้องตัวนั้นว่ามีขีดความสามารถขนาดไหน ช่างภาพก็ควรเข้าใจการตั้งค่าต่างๆ ของกล้องและความสัมพันธ์ของค่าเหล่านั้น ช่างภาพมืออาชีพจะไม่ค่อยใช้โหมดอัตโนมัติ จะมีก็เลือกตั้งค่าบางค่าได้เองแล้วให้กล้องคำนวณหาค่าอื่นที่เหมาะสมให้ ซึ่งมีโหมดตั้งค่ารูรับแสง โหมดตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ และโหมดตั้งค่าได้ทั้งสอง ช่างภาพจะมีความอิสระในการตั้งรูรับแสงหรือความเร็วชัตเตอร์สำหรับภาพแต่ละประเภทที่จะถ่าย การถ่ายภาพที่สว่างมาก เราควรลดทอนปริมาณแสงที่จะเข้าสู่หน่วยรับภาพน้อยกว่าปกติ (อาจจะปรับรูรับแสงให้เล็กลงหรือเพิ่มความเร็วชัตเตอร์ให้สูงขึ้น) ในขณะเดียวกันภาพที่มืดมากควรชดเชยเพิ่มปริมาณแสงเข้าหน่วยรับภาพให้สูงขึ้น ทั้งนี้กล้องบางรุ่นอาจจะสามารถปรับแต่งค่าต่างๆ สำหรับกรณีเหล่านี้ได้โดยอัตโนมัติ

พกขาตั้งกล้อง

ขาตั้งกล้องช่วยยึดตัวกล้องไม่ให้เคลื่อนไปมา ควรมีไว้ใช้แม้แต่การถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ซึ่งต้องการให้ทุกส่วนมีความคมชัดเมื่อขยายภาพให้ใหญ่ การถ่ายภาพในที่มืด และการถ่ายภาพกลางคืนก็ถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้อย่างยิ่ง ควรเลือกใช้ขาตั้งกล้องที่แข็งแรงรองรับน้ำหนักตัวกล้องและเลนส์ได้โดยไม่สั่นหรือเคลื่อนไหว ขาที่แข็งแรงน้ำหนักเบาจะมีราคาที่สูงกว่าขาที่มีน้ำหนักมาก อนึ่งในปัจจุบันมีกล้องหลายรุ่นที่ถ่ายภาพในที่มืดโดยไม่ต้องใช้ขาตั้ง หลักการคือถ่ายภาพด้วยความเร็วปกติหลายๆภาพมาซ้อนกัน โดยภาพแต่ละภาพเก็บรายละเอียดที่โทนแสงต่างกัน เมื่อมารวมเข้าด้วยกันก็จะให้รายละเอียดที่ครบถ้วน

การถ่ายภาพวาดบนผนัง

การใช้กล้องถ่ายภาพวาด โปสเตอร์ ภาพผนัง ควรเตรียมแสงให้สว่างสม่ำเสมอทั่วกันทั้งบริเวณพื้นที่ที่จะปรากฏบนภาพ ควรมีแสงจากสองด้าน ข้างซ้ายและขวาของกล้อง เลนส์ที่เหมาะสมควรเป็นเลนส์ 50มม.- 80มม. ที่จะไม่ทำภาพบิดเบี้ยวที่ขอบภาพ และให้สว่างเท่ากันทั้งกลางภาพและขอบภาพ ให้ระวังแสงไฟอย่าให้สะท้อนภาพต้นแบบเข้ากล้อง ควรใช้ขาตั้งกล้องช่วย ตั้งกล้องแนวกึ่งกลางของภาพต้นฉบับและตั้งให้ระนาบของกล้องขนานกับภาพ ก่อนถ่ายจริงถ้ามีกระดาษขาวปูเต็มพื้นที่ได้ก็จะดี ใช้ถ่ายทดสอบความขาวของภาพที่กล้องถ่ายได้และดูความทั่วของแสง อาจมีการปรับหลอดสีของแหล่งกำเนิดแสง หรือจะปรับค่า White Balance เพื่อช่วยให้ได้ภาพสีขาวที่บริสุทธ์ เมื่อพร้อมจึงทำการถ่ายภาพ

เพิ่มเครื่องมือที่เหมาะสม

ช่างภาพมือใหม่อาจใช้กล้องที่มีราคาประหยัด หน่วยรับภาพไม่ใหญ่มาก ถอดเปลี่ยนเลนส์ไม่ได้ เมื่อฝึกถ่ายได้ระยะหนึ่งก็ควรให้รางวัลแก่ตนเองโดยเริ่มสะสมอุปกรณ์เพิ่ม เริ่มจากหากล้องที่มีหน่วยรับภาพที่ใหญ่ (ขนาด APS ขึ้นไป) สามารถถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ นอกจากเลนส์ปกติที่ติดมากับกล้องแล้ว ควรสะสมเลนส์ถ่ายภาพมุมกว้าง และเลนส์ถ่ายภาพระยะไกล และอุปกรณ์อื่นๆ ชิ้นไหนก่อนหรือหลังก็แล้วแต่ประเภทของภาพที่ต้องการจะถ่าย 

ตกแต่งภาพหลังการถ่าย

สิ่งที่ช่างภาพยุคใหม่ควรต้องมีความรู้คือการใช้โปรแกรมตกแต่งภาพ อย่างเช่น โปรแกรม Photoshop โปรแกรม Lightroom ภาพที่ถ่ายจากกล้องไปแล้วมักต้องอาศัยการตกแต่งภาพมากบ้างน้อยบ้าง ตั้งแต่การปรับความสมดุลของแสงสี ไปถึงการตัดต่อภาพ สิ่งที่ควรระลึกไว้คือ ไม่ควรปรับภาพจนดูผิดธรรมชาติ (ยกเว้นภาพที่จงใจทำ) การปรับแก้บริเวณสว่าง/มืดให้คำนึงถึงทิศทางที่มาของแสง ภาพจึงออกมาสมจริง

แสดงฝีมือ

หลังจากเรียนรู้และฝึกถ่ายสักระยะหนึ่ง ก็ได้เวลาแสดงผลงาน โดยสร้างแฟ้มผลงานและลงในเว็บไซต์ของตนเอง ซึ่งก็อาจทำให้มีผู้สนใจติดตาม เมื่อถึงระยะเวลาหนึ่งหากมีความชอบก็สามารถยึดเป็นอาชีพเสริมได้

อ้างอิง : https://www.format.com/magazine/resources/photography/how-to-take-professional-photos

ภาพถ่ายจิปาถะ (Miscellaneous)

คลิกเลือกหมวดภาพ

People | Animals | Scenery | Structures | Operations | Objects | Abstracts | Miscellaneous |

ภาพที่แสดงเป็นภาพความละเอียดต่ำ ไม่สงวนสิทธ์ในการนำไปใช้งานยกเว้นภาพที่มีลายน้ำและภาพบุคคล สนใจภาพความละเอียดสูงโปรดติดต่อ
โรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์  โทร 02722 0860  email:
sales.supremeprint@gmail.com

The presenting images are in low resolution and are free for use except those embossed with watermarks and those concerning person(s). For high resolution images, please contact Supremeprint: 02722 0860 email:
sales.supremeprint@gmail.com