ReadyPlanet.com
dot
บริการงานพิมพ์ทั่วไป
dot
bulletแผ่นพับ/ใบปลิว : รับทำ/พิมพ์
bulletโบรชัวร์ : รับทำ/พิมพ์
bulletแคตตาล็อก : รับทำ/พิมพ์
bulletหนังสือ/วารสาร : รับทำ/พิมพ์
bulletนิตยสาร/แมกกาซีน: รับทำ/พิมพ์
bulletรายงานประจำปี : รับทำ/พิมพ์
bulletโปสเตอร์ : รับทำ/พิมพ์
bulletปฏิทิน : รับทำ/พิมพ์
bulletการ์ด/บัตรเชิญ : รับทำ/พิมพ์
bulletนามบัตร : รับทำ/พิมพ์
bulletหัวจดหมาย : รับทำ/พิมพ์
bulletซองกระดาษ : รับทำ/พิมพ์
bulletแฟ้มกระดาษ : รับทำ/พิมพ์
bulletแบบฟอร์ม : รับทำ/พิมพ์
bulletสิ่งพิมพ์อื่นๆ : รับทำ/พิมพ์
dot
บริการงานพิมพ์บรรจุภัณฑ์
dot
bulletฉลากสินค้า : รับทำ/พิมพ์
bulletกล่องบรรจุภัณฑ์ : รับทำ/พิมพ์
bulletถุงกระดาษ : รับทำ/พิมพ์
dot
บริการด้านอื่น ๆ
dot
bulletรับออกแบบจัดทำต้นฉบับ
bulletรับถ่ายภาพ/ทำรีทัช
dot
เรื่องของกระดาษ
dot
bulletกระดาษ: ความหมาย/ความเป็นมา
bulletองค์ประกอบของกระดาษ
bulletสมบัติเชิงโครงสร้างของกระดาษ
bulletกระบวนการผลิตกระดาษ
bulletชนิดของกระดาษ
bulletมาตรฐานขนาดของกระดาษ
bulletการใช้กระดาษสำหรับงานพิมพ์
dot
เรื่องของการพิมพ์
dot
bulletการพิมพ์: ความหมาย/วิวัฒนาการ
bulletประวัติการพิมพ์ในเมืองไทย
bulletประเภทของการพิมพ์
bulletขบวนการผลิตสิ่งพิมพ์
bulletหลักการเลือกใช้โรงพิมพ์
dot
เรื่องของการออกแบบสิ่งพิมพ์
dot
bulletขบวนการการออกแบบสิ่งพิมพ์
bulletองค์ประกอบและหลักการออกแบบสิ่งพิมพ์
bulletการจัดเลย์เอ้าท์โดยใช้กริด
dot
เรื่องของการถ่ายภาพ
dot
bulletประวัติของกล้องถ่ายภาพ
bulletหลักการทำงานของกล้อง
dot
เรื่องน่ารู้
dot
bulletขั้นตอนการสั่งทำงานพิมพ์
bulletข้อควรระวังในการออกแบบสิ่งพิมพ์
bulletRGB vs CMYK
bulletColour Chart vs โรงพิมพ์
bulletการจดหัวหนังสือ vs โรงพิมพ์
bulletสิ่งพิมพ์โฆษณา/ประชาสัมพันธ์
bulletคุณภาพงานพิมพ์ขึ้นอยู่กับ...
bulletถาม / ตอบ โรงพิมพ์ >>
dot
อื่น ๆ
dot
bulletบริหารและจัดการ


ค้นหาด้วยกูเกิ้ล


> Operations

Operations

                         
 

การถ่ายภาพการทำงาน

เรียบเรียงโดย สุพรีมพริ้นท์ โรงพิมพ์คุณภาพ รับพิมพ์หนังสือและงานพิมพ์ทุกชนิด
 
ภาพถ่ายการทำงานเป็นภาพที่แสดงการทำงานของบุคคลในบรรยากาศเหมือนอยู่ในสถานที่ทำงานจริง การทำงานที่ว่าอาจไม่มีการใช้เครื่องมือใดๆ ประกอบ เช่นการแสดงท่าครุ่นคิด การกล่าวปราศรัย จนถึงการใช้เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ เช่น เครื่องมือช่าง เครื่องควบคุม ฯลฯ
การถ่ายภาพการทำงานมีกรรมวิธีการถ่ายคล้ายกับการถ่ายภาพบุคคล ช่างภาพที่เคยถ่ายภาพบุคคลสามารถพัฒนามาถ่ายภาพการทำงานได้ไม่ยาก ต่อไปนี้เป็นข้อแนะนำในการถ่ายภาพการทำงาน

อุปกรณ์ที่ใช้

อุปกรณ์ที่ควรใช้ในการถ่ายภาพการทำงาน นอกจากกล้องถ่ายภาพที่มีคุณภาพแล้ว ควรมีเลนส์ที่มีความยาวโฟกัสระหว่าง 50 ถึง 100 มม. ซึ่งเป็นช่วงเลนส์ที่ให้ความเบี่ยงเบนของภาพน้อย เหมาะกับการถ่ายภาพบุคคล รูปทรงของฉากไม่บิดเบี้ยว อีกทั้งสามารถแสดงรายละเอียดของส่วนประกอบต่างๆ ในภาพได้ดี แต่หากต้องการภาพที่แสดงสถานที่รอบๆ กว้างขึ้นก็ให้ใช้เลนส์ถ่ายภาพมุมกว้าง (Wide Angle Lens)  และหากมีเลนส์ถ่ายภาพระยะไกล (Telephoto Lens) ติดตัวได้ก็จะเป็นการดี ใช้เมื่อแบบอยู่ระยะไกล เช่นทำงานอยู่บนหลังคา หรือทำงานในพื้นที่มีความเสี่ยง สำหรับขาตั้ง จะช่วยยึดกล้องเมื่อถ่ายในที่ที่แสงไม่เพียงพอ ไฟแฟลชใช้ในกรณีเป็นไฟเสริม (Fill Flash) เพื่อช่วยให้เห็นรายละเอียดในส่วนที่เป็นเงามืดจะได้ไม่ดำมืดจนเกินไป

อะไรที่ควรอยู่ไม่ควรอยู่ในภาพ

ในการถ่ายภาพบุคคล (Portrait Photography) เรามักจะให้ความสำคัญและเน้นที่ตัวแบบ โดยให้ฉากหลังพร่ามัวด้วยการเปิดรูรับแสง (Aperture) ที่กว้าง แต่สำหรับการถ่ายภาพการทำงาน เราไม่สามารถยึดตามหลักการนี้ เพราะสภาพแวดล้อมเป็นส่วนสำคัญของภาพเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น ช่างใส่หมวกกันกระแทกถือเครื่องเชื่อมกำลังเชื่อมงานอยู่ หากไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งที่ให้รู้ว่ามีถังเหล็กที่เขาเชื่อมอยู่ปรากฏในภาพที่ถ่าย ก็จะทำให้ภาพนั้นหมดความหมาย การให้มีถังหรือส่วนหนึ่งของถังปรากฏอยู่เป็นการบ่งบอกถึงลักษณะของงานและให้ข้อมูลการปฏิบัติงานของแบบในภาพ
เมื่อเราเรียนรู้ว่าวัสดุประกอบฉากและฉากหลังมีความสำคัญ คราวนี้เราก็จะเกิดคำถามว่าแล้วควรมีวัตถุอะไรบ้างมาประกอบฉากเพื่อใช้บอกเล่าเรื่องราว และในขณะเดียวกันก็ไม่ทำให้ภาพดูรกจนเกินไป ให้เราเริ่มจัดภาพโดยเริ่มจากตัวแบบ ซึ่งแน่นอนต้องให้ส่วนของแบบใช้พื้นที่ในภาพมากกว่าฉากหลัง ถัดมาให้ดูส่วนประกอบของฉากหลังทีละชิ้น ว่าอันไหนจำเป็นเกี่ยวข้องกับการทำงานของแบบที่จะต้องแสดงในภาพบ้าง พยายามตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกโดยการนำออกจากพื้นที่หรือเปลี่ยนมุมกล้อง ในกรณีที่สิ่งต่างๆในฉากหลังล้วนมีความสำคัญต่อเนื้อหาของภาพไม่สามารถตัดออก แต่ถ้าบรรจุทั้งหมดลงในภาพ จะทำให้ภาพดูแน่น ก็ใช้วิธีเปิดรูรับแสงให้กว้างขึ้น ทำให้วัตถุประดับฉากเริ่มพร่ามัว สิ่งที่อยู่ไกลออกไปก็จะมีความพร่ามัวมากขึ้น อย่างไรเสียให้คุมระดับความพร่ามัวอย่าให้พร่ามัวจนไม่สามารถระบุว่าเป็นวัตถุอะไร

ควรถ่ายแบบไม่บอกกล่าวหรือควรจัดท่าถ่าย

มีข้อถกเถียงว่าการถ่ายแบบไม่บอกกล่าวกับการจัดท่าถ่ายแบบ วิธีการไหนจะได้ภาพการทำงานที่ดีกว่ากัน ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นวิธีการใด ย่อมขึ้นอยู่กับตัวแบบที่เราจะถ่ายและการที่เรารู้จักตัวแบบดีมากน้อยเพียงใด มีคำแนะนำว่าให้ลองทั้งสองวิธี บันทึกภาพให้มากเท่าที่ต้องการ เพราะในยุคนี้การถ่ายภาพไม่ได้ถูกจำกัดจำนวนภาพตามที่เคยเป็นสมัยที่ใช้ฟิล์มในการบันทึกภาพ ในกรณีที่เรารู้จักตัวแบบเป็นอย่างดี ก็จะทำให้ง่ายต่อการขอความร่วมมือในการจัดวางท่าทางในการถ่าย แบบจะมีความเป็นกันเองไม่เครียด ที่สำคัญอย่างหนึ่งคือการให้แบบวางท่าทางอย่างธรรมชาติเหมือนไม่ได้ถูกบอกให้ทำ ซึ่งแบบจะทำได้ดีหากมีความผ่อนคลาย ช่างภาพอาจต้องใช้วิธีที่แตกต่างกันในทำให้แบบร่วมมือและผ่อนคลาย วิธีการที่ใช้ได้กับแบบคนหนึ่งอาจใช้ไม่ได้ผลกับแบบอีกคนหนึ่ง การชวนแบบคุยก็เป็นวิธีที่ได้ผลดี อาจจะชวนคุยเรื่องทั่วไป หรือคุยเกี่ยวกับงานที่เขาทำที่เขาชอบ
การถ่ายแบบไม่บอกกล่าวจะเป็นวิธีที่ง่ายกว่า ทำโดยถอยห่างออกมาแล้วปล่อยให้เขาทำงานไปตามปกติ หาจังหวะท่วงท่าที่เหมาะจึงทำการบันทึกภาพ แต่ต้องหมั่นดูว่าภาพที่ถ่ายมีวัตถุที่จำเป็นต่างๆ ปรากฏครบถ้วนไหม การถ่ายจากระยะไกลด้วยเลนส์ถ่ายภาพระยะไกล ก็เป็นสิ่งที่ดีที่แบบไม่ได้จดจ้องอยู่ว่ามีคนตั้งกล้องถ่ายเขาอยู่

ถ่ายคนแปลกหน้า

การถ่ายภาพคนที่เราไม่รู้จักมาก่อนเป็นประสบการณ์ที่ช่างภาพใหม่ค่อนขาดความกล้าที่จะทำ แต่ถ้าได้ฝึกทำหลายๆ ครั้งก็เกิดความคุ้นเคยเอง ช่างภาพบางคนก็กลับรู้สึกสนุกที่ได้พบปะกับผู้คนใหม่ๆ ในสถานที่ใหม่ๆ เข้าหาและขออนุญาตถ่ายภาพ ช่างภาพแต่ละคนมีเทคนิคในการถ่ายภาพคนแปลกหน้าต่างๆ กัน เทคนิคที่คนหนึ่งชื่นชอบอาจไม่ตรงกับเทคนิคของอีกคน การแอบถ่ายแล้วรีบเดินจากไปก็เป็นเทคนิคหนึ่ง เช่น หากแผ่นจอแสดงภาพหลังกล้องสามารถพับมองต่างมุมได้ ช่างภาพอาจจะถือกล้องระดับเอวมองภาพที่จะถ่ายบนแผ่นจอแสดงภาพ หาจังหวะแล้วกดชัตเตอร์ แต่ถ้าเราต้องการได้ภาพที่เห็นตัวตนของแบบและการดำเนินชีวิตของเขา เราควรจะเข้าไปหา แนะนำตัวกลับเขา ใช้เวลาพูดคุยและขออนุญาตถ่าย จึงจะได้ภาพที่สมบูรณ์ขึ้น

อ้างอิง : https://www.digital-photo-secrets.com/tip/5499/photograph-people-work/


ภาพถ่ายการทำงาน (Operations)

คลิกเลือกหมวดภาพ

People | Animals | Scenery | Structures | Operations | Objects | Abstracts | Miscellaneous |

ภาพที่แสดงเป็นภาพรายละเอียดต่ำ ไม่สงวนสิทธ์ในการนำไปใช้งานยกเว้นภาพที่มีลายน้ำและภาพบุคคล สนใจภาพรายละเอียดสูงโปรดติดต่อ
โรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์  โทร 02722 0860  email:
sales.supremeprint@gmail.com

The presenting images are in low resolution and are free for use except those embossed with watermarks and those concerning person(s). For high resolution images, please contact Supremeprint: 02722 0860 email:
sales.supremeprint@gmail.com