ReadyPlanet.com
dot
บริการงานพิมพ์ทั่วไป
dot
bulletแผ่นพับ/ใบปลิว : รับทำ/พิมพ์
bulletโบรชัวร์ : รับทำ/พิมพ์
bulletแคตตาล็อก : รับทำ/พิมพ์
bulletหนังสือ/วารสาร : รับทำ/พิมพ์
bulletนิตยสาร/แมกกาซีน: รับทำ/พิมพ์
bulletรายงานประจำปี : รับทำ/พิมพ์
bulletโปสเตอร์ : รับทำ/พิมพ์
bulletปฏิทิน : รับทำ/พิมพ์
bulletการ์ด/บัตรเชิญ : รับทำ/พิมพ์
bulletนามบัตร : รับทำ/พิมพ์
bulletหัวจดหมาย : รับทำ/พิมพ์
bulletซองกระดาษ : รับทำ/พิมพ์
bulletแฟ้มกระดาษ : รับทำ/พิมพ์
bulletแบบฟอร์ม : รับทำ/พิมพ์
bulletสิ่งพิมพ์อื่นๆ : รับทำ/พิมพ์
dot
บริการงานพิมพ์บรรจุภัณฑ์
dot
bulletฉลากสินค้า : รับทำ/พิมพ์
bulletกล่องบรรจุภัณฑ์ : รับทำ/พิมพ์
bulletถุงกระดาษ : รับทำ/พิมพ์
dot
บริการด้านอื่น ๆ
dot
bulletรับออกแบบจัดทำต้นฉบับ
bulletรับถ่ายภาพ/ทำรีทัช
dot
เรื่องของกระดาษ
dot
bulletกระดาษ: ความหมาย/ความเป็นมา
bulletองค์ประกอบของกระดาษ
bulletสมบัติเชิงโครงสร้างของกระดาษ
bulletกระบวนการผลิตกระดาษ
bulletชนิดของกระดาษ
bulletมาตรฐานขนาดของกระดาษ
bulletการใช้กระดาษสำหรับงานพิมพ์
dot
เรื่องของการพิมพ์
dot
bulletการพิมพ์: ความหมาย/วิวัฒนาการ
bulletประวัติการพิมพ์ในเมืองไทย
bulletประเภทของการพิมพ์
bulletขบวนการผลิตสิ่งพิมพ์
bulletหลักการเลือกใช้โรงพิมพ์
dot
เรื่องของการออกแบบสิ่งพิมพ์
dot
bulletขบวนการการออกแบบสิ่งพิมพ์
bulletองค์ประกอบและหลักการออกแบบสิ่งพิมพ์
bulletการจัดเลย์เอ้าท์โดยใช้กริด
dot
เรื่องของการถ่ายภาพ
dot
bulletประวัติของกล้องถ่ายภาพ
bulletหลักการทำงานของกล้อง
dot
เรื่องน่ารู้
dot
bulletขั้นตอนการสั่งทำงานพิมพ์
bulletข้อควรระวังในการออกแบบสิ่งพิมพ์
bulletRGB vs CMYK
bulletColour Chart vs โรงพิมพ์
bulletการจดหัวหนังสือ vs โรงพิมพ์
bulletสิ่งพิมพ์โฆษณา/ประชาสัมพันธ์
bulletคุณภาพงานพิมพ์ขึ้นอยู่กับ...
bulletถาม / ตอบ โรงพิมพ์ >>
dot
อื่น ๆ
dot
bulletบริหารและจัดการ


ค้นหาด้วยกูเกิ้ล


> Abstracts

Abstracts

                        

การถ่ายภาพแอ็บสแทรคท์ (Abstract Photography)

เรียบเรียงโดย สุพรีมพริ้นท์ โรงพิมพ์คุณภาพ รับงานพิมพ์และงานรีทัชภาพ

ภาพถ่ายแอ็บสแทรคท์ เป็นภาพที่แสดงจินตนาการความคิดฝันที่อยู่นอกความเป็นธรรมชาติ อยู่นอกเหนือความเป็นจริง ทำให้ผู้ชมเกิดความสงสัยว่าเป็นภาพอะไร และนำพาให้เข้าไปสู่อีกมิติหนึ่ง
การถ่ายภาพแอ็บสแทรคท์ไม่ใช่เป็นเรื่องยากหากเราได้เรียนรู้พื้นฐานบางประการ และเรื่องราวต่อไปนี้เป็นข้อแนะนำในการถ่ายภาพแนวแอ็บสแตรกต์ เมื่อได้เรียนรู้แล้วเกิดความสนใจก็สามารถฝึกฝนจนเป็นนักถ่ายภาพแนวแอ็บสแทรคท์นี้ได้

เริ่มจากวัตถุที่พบเห็นในแต่ละวัน

แนวทางการถ่ายภาพแอ็บสแทรคท์เป็นการมองสิ่งต่างๆในลักษณะที่แตกต่างการมองปกติ สิ่งที่ช่วยให้ช่างภาพมือใหม่เริ่มถ่ายภาพแนวนี้ได้โดยมองหาสิ่งของที่อยู่ใกล้ตัวจากที่มีแล้วในบ้าน สวนหน้าบ้านก็ได้ ลองมองของเหล่านั้นในมุมมองที่แตกต่างจากปกติที่เราเห็นกัน ก็จะเป็นการฝึกให้เราคิดและมองสิ่งของในแนวแอ็บสแทรคท์

นำรูปทรงของวัตถุมาสร้างภาพ

การจัดองค์ประกอบของภาพถ่ายที่เป็นเส้น รูปทรง ลวดลาย แบบแผน สีสัน สามารถนำมาใช้ในการออกแบบภาพแอ็บสแทรคท์ในรูปแบบต่างๆ การมองหาทรวดทรงของวัตถุ หรือจัดเรียงวัตถุเป็น เส้นตรง หรือเส้นโค้งมาปรากฏบนภาพให้เป็นเส้นนำสายตาก็เป็นแนวทางหนึ่ง หรือจะใช้ลวดลายของพื้นผิวของวัตถุก็สามารถสร้างภาพให้เป็นที่น่าสนใจได้ หรือจะนำเสนอจุดสนใจด้วยส่วนของสีสันที่แตกต่างไปจากสีของพื้นผิวรอบๆ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง

ใช้เลนส์ถ่ายภาพระยะใกล้

หนึ่งในวิธีที่นิยมในการถ่ายภาพแนวแอ็บสแตรกต์คือการถ่ายภาพให้ใกล้ขึ้น ซึ่งอาจใช้เลนส์ซูม (Zoom lens) หรือเลนส์ถ่ายภาพระยะใกล้ (Macro Lens) ก็ได้ การใช้เลนส์ซูมสามารถดึงภาพวัตถุให้ใกล้เข้ามาตามที่เราต้องการ (ให้คำนึงถึงความสามารถของเลนส์แต่ละอันว่าระยะที่ใกล้ที่สุดจากวัตถุเป็นเท่าไหร่ที่เลนส์ยังหาระยะชัด (Focus) ได้) การถ่ายแบบใกล้วัตถุมากๆ ต้องใช้เลนส์ถ่ายภาพระยะใกล้จึงจะทำได้ ด้วยการถ่ายระยะใกล้ เราจะเห็นภาพแปลกตาที่ไม่เคยเห็นมาก่อน

ถ่ายผ่านวัตถุ

การถ่ายผ่านวัสดุ เช่นแก้วที่แตก ขวดน้ำ หลอดไฟ กระจกเจียระไน แผ่นพลาสติกโปร่งแสงที่มีลวดลาย ม่านน้ำ หยดน้ำที่เกาะบนกระจก หรือกระจกรถยนต์ตอนฝนตก จะช่วยทำให้เห็นภาพที่เบี่ยงเบนบิดเบี้ยว ซึ่งสามารถสร้างภาพถ่ายแนวแอ็บสแทรคท์ที่น่าสนใจได้ นอกจากนี้ ลองหาฟิลเตอร์สีต่างๆ ทาเจลบนฟิลเตอร์ให้มีบางส่วนหนาบางส่วนบางต่างกัน เมื่อมองผ่านฟิลเตอร์ก็จะเห็นภาพเพี้ยนๆ วิธีนี้ก็จะช่วยเพิ่มสีสันและได้ภาพที่ไม่ปกติธรรมดา

สร้างภาพเคลื่อนไหว

ช่างภาพหลายคนไม่ค่อยสบอารมณ์กับภาพถ่ายที่พร่ามัวจะเป็นเพราะกล้องสั่นไหวหรือวัตถุเคลื่อนไหว หรือตั้งระยะชัดไม่ถูกต้อง แต่ไม่ใช่สำหรับช่างภาพแนวแอ็บสแทรคท์ การสร้างภาพเคลื่อนไหวที่ว่านี้ทำโดยการขยับกล้องแล้วก็กดชัตเตอร์ในขณะที่เคลื่อนกล้องอยู่ ภาพที่ได้ก็จะพร่ามัว มีเส้นสาย เกิดสีที่ผสมกันและอาจเกิดเป็นรูปแบบแปลกๆ  ทิศทางของเส้นสายก็ขึ้นอยู่กับทิศทางในการเคลื่อนของกล้อง สามารถทดลองได้โดยเคลื่อนกล้องเป็นเส้นตรง จากซ้ายไปขวา บนไปล่าง หรือจะเคลื่อนในแนวทแยง เป็นวงกลม เส้นโค้ง หรือใช้วิธีสะบัดกล้อง ฯลฯ การถ่ายภาพแบบนี้ควรตั้งความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำไว้ ประมาณ 1/10 วินาที หรือต่ำกว่านี้จึงจะเห็นเป็นภาพเคลื่อนไหว

ตัดส่วนเกินออก

เพื่อให้ได้ภาพที่เรียบง่าย บางครั้งต้องนำวัตถุบางชิ้นออก หรือเบี่ยงกล้องให้วัตถุบางชิ้นหลุดออกจากจอภาพ ในการถ่ายทำจึงต้องพิจารณาว่าควรเอาวัตถุชิ้นใดออกไปบ้าง และให้จดจำไว้ว่าเพราะเหตุใดถึงดึงออกไป บางครั้งการเอาวัตถุชิ้นที่สองออกจะทำให้มุ่งจุดสนใจไปที่วัตถุที่เหลืออยู่ ช่วยให้ภาพเรียบง่ายและอาจสร้างความลึกลับให้กับภาพ

จัดแสงช่วย

การจัดแสงทำได้หลายแบบ การเปลี่ยนทิศทางของแสงหลักและความเข้มของแสงช่วยให้ได้ภาพหลายๆ แบบในลักษณะที่แตกต่างกัน การบังคับแสงให้สว่างที่ตัววัตถุจะช่วยเน้นให้วัตถุโดดเด่นเป็นจุดสนใจของภาพ การวางแสงด้านข้างจะทำให้เกิดเงายาวของวัตถุ แสงที่นุ่มจะช่วยให้เห็นรายละเอียดส่วนต่างๆ ของภาพนอกเหนือจากจุดสนใจหลัก ส่วนการวางแหล่งแสงไว้หลังวัตถุจะเป็นวัตถุเป็นเงาดำ หากเป็นวัตถุโปร่งแสงก็จะเห็นตัววัตถุสว่างเป็นประกาย มีสีสันที่สวยงาม

ใช้เทคนิคการถ่ายภาพแบบต่างๆ

ก่อนอื่นช่างภาพต้องเรียนรู้การทำงานของกล้องที่ใช้อยู่ เมื่อเข้าใจการตั้งค่าแต่ละอย่างมีผลอย่างไรกับผลลัพธ์ของภาพที่เกิดขึ้น ก็จะสามารถปรับค่าต่างๆ เพื่อหวังผลตามที่ต้องการ กล้าที่จะถ่ายภาพที่ไม่ได้ความคมชัด (Out of Focus) เล่นกับการปรับระยะชัดลึก (ปรับขนาดรูรับแสง) ถ่ายในมุมที่แปลกๆ ปรับเปลี่ยนค่าสมดุลสีขาว (White Balance) ลองหมุนกล้องตอนกดชัตเตอร์ หาวิธีใหม่ๆ ในการถ่ายวัตถุ ถ่ายภาพนอกสถานที่ หรือการเล่นกีฬา โดยให้อยู่ในแนวทางแบบของแอ็บสแทรคท์ ให้มีอิสระเปิดกว้างในการค้นหาการถ่ายแบบใหม่ๆ

ตกแต่งภาพหลังการถ่ายภาพ

หลังจากที่ได้ภาพถ่ายแนวแอ็บสแทรคท์แล้ว ก็ลองตกแต่งปรับปรุงภาพโดยใช้โปรแกรมตกแต่งภาพ เช่น โปรแกรมโฟโต้ชอป (Photoshop) เราสามารถมีอิสระอย่างเต็มที่ในการตกแต่งแก้ไขภาพเช่นเดียวกับความอิสระในการถ่ายภาพแนวนี้ ไม่มีคำว่ามากไป เพราะไม่ได้นำภาพไปเปรียบเทียบกับความเหมือนจริง หรือเหมือนธรรมชาติ เราสามารถเปลี่ยนสีใหม่ ครอบตัดภาพ เปลี่ยนรูปร่าง ทำรูปภาพให้บิดเบี้ยว กลับภาพ เพิ่มความพร่ามัว ตัดต่อภาพ ฯลฯ

อ้างอิง : https://www.adorama.com/alc/abstract-photography-for-beginners-9-tips-for-capturing-stunning-abstract-images/
 

ภาพถ่ายแอ็บสแทรคท์ (Abstract Photography)

คลิกเลือกหมวดภาพ

People | Animals | Scenery | Structures | Operations | Objects | Abstracts | Miscellaneous |

ภาพที่แสดงเป็นภาพรายละเอียดต่ำ ไม่สงวนสิทธ์ในการนำไปใช้งานยกเว้นภาพที่มีลายน้ำและภาพบุคคล สนใจภาพรายละเอียดสูงโปรดติดต่อ
โรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์  โทร 02722 0860  email:
sales.supremeprint@gmail.com

The presenting images are in low resolution and are free for use except those embossed with watermarks and those concerning person(s). For high resolution images, please contact Supremeprint: 02722 0860 email:
sales.supremeprint@gmail.com