ReadyPlanet.com
dot
บริการงานพิมพ์ทั่วไป
dot
bulletแผ่นพับ/ใบปลิว : รับทำ/พิมพ์
bulletโบรชัวร์ : รับทำ/พิมพ์
bulletแคตตาล็อก : รับทำ/พิมพ์
bulletหนังสือ/วารสาร : รับทำ/พิมพ์
bulletนิตยสาร/แมกกาซีน: รับทำ/พิมพ์
bulletรายงานประจำปี : รับทำ/พิมพ์
bulletโปสเตอร์ : รับทำ/พิมพ์
bulletปฏิทิน : รับทำ/พิมพ์
bulletการ์ด/บัตรเชิญ : รับทำ/พิมพ์
bulletนามบัตร : รับทำ/พิมพ์
bulletหัวจดหมาย : รับทำ/พิมพ์
bulletซองกระดาษ : รับทำ/พิมพ์
bulletแฟ้มกระดาษ : รับทำ/พิมพ์
bulletแบบฟอร์ม : รับทำ/พิมพ์
bulletสิ่งพิมพ์อื่นๆ : รับทำ/พิมพ์
dot
บริการงานพิมพ์บรรจุภัณฑ์
dot
bulletฉลากสินค้า : รับทำ/พิมพ์
bulletกล่องบรรจุภัณฑ์ : รับทำ/พิมพ์
bulletถุงกระดาษ : รับทำ/พิมพ์
dot
บริการด้านอื่น ๆ
dot
bulletรับออกแบบจัดทำต้นฉบับ
bulletรับถ่ายภาพ/ทำรีทัช
dot
เรื่องของกระดาษ
dot
bulletกระดาษ: ความหมาย/ความเป็นมา
bulletองค์ประกอบของกระดาษ
bulletสมบัติเชิงโครงสร้างของกระดาษ
bulletกระบวนการผลิตกระดาษ
bulletชนิดของกระดาษ
bulletมาตรฐานขนาดของกระดาษ
bulletการใช้กระดาษสำหรับงานพิมพ์
dot
เรื่องของการพิมพ์
dot
bulletการพิมพ์: ความหมาย/วิวัฒนาการ
bulletประวัติการพิมพ์ในเมืองไทย
bulletประเภทของการพิมพ์
bulletขบวนการผลิตสิ่งพิมพ์
bulletหลักการเลือกใช้โรงพิมพ์
dot
เรื่องของการออกแบบสิ่งพิมพ์
dot
bulletขบวนการการออกแบบสิ่งพิมพ์
bulletองค์ประกอบและหลักการออกแบบสิ่งพิมพ์
bulletการจัดเลย์เอ้าท์โดยใช้กริด
dot
เรื่องของการถ่ายภาพ
dot
bulletประวัติของกล้องถ่ายภาพ
bulletหลักการทำงานของกล้อง
dot
เรื่องน่ารู้
dot
bulletขั้นตอนการสั่งทำงานพิมพ์
bulletข้อควรระวังในการออกแบบสิ่งพิมพ์
bulletRGB vs CMYK
bulletColour Chart vs โรงพิมพ์
bulletการจดหัวหนังสือ vs โรงพิมพ์
bulletสิ่งพิมพ์โฆษณา/ประชาสัมพันธ์
bulletคุณภาพงานพิมพ์ขึ้นอยู่กับ...
bulletถาม / ตอบ โรงพิมพ์ >>
dot
อื่น ๆ
dot
bulletบริหารและจัดการ


ค้นหาด้วยกูเกิ้ล


องค์ประกอบของภาพ article

                         

องค์ประกอบของภาพ

สารบัญ:  เกริ่นนำ  กฎสามส่วน • ความสมดุลของภาพ • เส้นนำสายตา • ความสมมาตรและความเป็นแบบแผน • มุมมอง • ฉากหลัง • ความลึก • กรอบภาพ • การครอบตัด

 

เกริ่นนำ

การจัดองค์ประกอบในภาพ (Compositioning) เป็นพื้นฐานหนึ่งที่จะทำให้ภาพมีคุณค่าน่าดึงดูดใจ ทำให้ภาพดูแตกต่างจากภาพธรรมดาทั่ว ๆ ไปเป็นภาพที่มีความหมาย

กฎสามส่วน (Rule of Thirds)

การจัดองค์ประกอบของภาพให้ดูดีประการหนึ่งคือการเลือกวางตำแหน่งจุดสนใจของภาพ โดยการแบ่งด้านกว้างและด้านยาวออกเป็นด้านละสามส่วนจะทำให้ภาพถูกแบ่งออกมาได้ 9 ช่อง จุดที่เส้นแบ่งตัดกันจะมีอยู่ 4 จุดด้วยกัน จุดใดจุดหนึ่งของจุดทั้งสี่ ถือเป็นตำแหน่งสำหรับวางส่วนสำคัญที่สุดของภาพ ซึ่งจะทำให้ภาพมีคุณค่าขึ้น ช่างภาพมือใหม่มักจะวางจุดสนใจไว้ที่กลางภาพเนื่องจากยังไม่คุ้นกับการมองผ่านช่องมองภาพ หรือมัวพะวงมุ่งสนใจกับวัตถุที่จะถ่าย ดังนั้นหากเราฝึกกวาดสายตาดูรอบ ๆ ภาพที่ช่องมองภาพแล้วเลือกว่าจะเลื่อนจุดสนใจไปยังจุดใดจุดหนึ่งของสี่จุดดังกล่าว เราก็จะได้ภาพที่ดูดีขึ้น

อนึ่ง การวางจุดสนใจไว้ ณ ตำแหน่งต่าง ๆ ดังกล่าวไม่ใช่เป็นข้อบังคับเป็นเพียงแนวทางสำหรับการจัดภาพทั่ว ๆ ไป ช่างภาพอาจมีแนวทางการวางที่ต่างออกไปแล้วแต่แนวคิดในภาพแต่ละภาพ

ความสมดุลของภาพ (Balancing Elements)

ในการจัดวางจุดสนใจเอียงไปด้านใดด้านหนึ่งของภาพตามกฏสามส่วนนั้น ทำให้น้ำหนักของภาพหนักไปทางด้านนั้น ส่วนอีกด้านหนึ่งจะดูโล่ง จึงควรหาจุดสนใจรอง ๆ ไว้อีกด้านหนึ่งเป็นการถ่วงน้ำหนักให้ภาพดูสมดุลขึ้น ทั้งนี้ก็อย่าให้จุดสนใจรองนั้นมาลดความเด่นของจุดสนใจหลักจนเกินไป




เส้นนำสายตา (leading Line)

โดยธรรมชาตินั้น เมื่อเรามองไปยังภาพ ตาของคนเราจะเคลื่อนไปตามเส้นสายต่าง ๆ ที่ปรากฏในภาพ ดังนั้น เราสามารถที่จะจัดองค์ประกอบของภาพให้มีเส้นสาย และให้ผู้ชมเคลื่อนสายตาไปตามเส้นสายนั้น (เส้นสายเหล่านี้อาจจะเป็นถนน ธารน้ำ ทิวเขา เส้นแบ่งของสีสัน เส้นแบ่งความเข้มของแสง ขอบเงาของวัตถุ ฯลฯ) ผ่านจุดสนใจจนเลยไกลออกไป เส้นสายเหล่านี้อาจจะมีรูปทรงเป็นเส้นตรง เส้นเฉียง เส้นโค้ง เส้นซิกแซก ฯลฯ 

  


ความสมมาตรและความเป็นแบบแผน (Symmetry and Patterns)

เราสามารถสร้างสรรค์ภาพที่มีความสมมาตรและเป็นแบบแผนดูน่าเบื่อหน่าย ให้ดูน่าสนใจได้หากสามารถนำเสนอในมุมมองที่ผู้ชมไม่ได้คาดคิดมาก่อน ในขณะที่เรากำลังเดินหามุมภาพ ให้ลองฉุกคิดดูว่าช่วงบริเวณนั้นมีโครงสร้างอะไรที่เป็นแบบแผน มีความสมมาตร อาจเป็นอาคาร สิ่งปลูกสร้าง หรือป่าเขา ลองส่องช่องมองกล้องดู ก็อาจได้ภาพที่มีคุณค่าได้ และหากเรามีการคิดต่างออกไปโดยวางจุดสนใจลงไปที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งของภาพประเภทนี้ ก็อาจได้ภาพที่ดูดีด้วยก็ได้




มุมมอง (Viewpoint)

ก่อนที่จะลงมือถ่ายภาพให้ลองใช้เวลาสักนิดคิดหามุมที่จะตั้งกล้องสำหรับบันทึกภาพ แทนที่จะเป็นมุมมองในระดับสายตาซึ่งดูจำเจ หากลองก้มลงในมุมต่ำใกล้ระดับพื้น หรือตะแคงกล้องทำมุมเอียง ๆ กับพื้น หรือปีนไปถ่ายในมุมสูง ฯลฯ อาจได้มุมมองที่ต่างออกไป และสามารถสร้างความเร้าใจให้ผู้ชมภาพนั้น ๆ ได้




ฉากหลัง (Background)

บ่อยครั้งที่ภาพบางภาพที่น่าจะดูดีแต่พบว่าจุดสนใจกลับดูไม่เด่นพอ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะฉากหลังดูวุ่นวายแย่งความสนใจจากจุดสนใจหลัก ดังนั้น ในการถ่ายภาพให้หามุมกล้องที่ฉากหลังดูค่อนข้างเรียบ ไม่มีอะไรรกสายตา ไม่มีแสงสีที่จะมาแย่งสายตาไปจากจุดสนใจ อีกทางหนึ่งคือ เปิดขนาดของอะเพอร์เจอร์ให้ใหญ่ขึ้นเพื่อให้ระยะชัดลึกน้อยลงทำให้ฉากหลังพร่ามัว การถ่ายของชิ้นเล็ก ๆ เช่นการถ่ายภาพดอกไม้ เราสามารถใช้กระดาษที่มีสีโทนมืดไปไว้ด้านหลังของดอกไม้ที่จะถ่ายเพื่อทำเป็นฉากหลัง ก็จะทำให้ภาพของดอกไม้ดูโดดเด่นขึ้น


ความลึก (Depth)

แม้ว่าภาพถ่ายจะเป็นภาพสองมิติ เราสามารถถ่ายทอดให้ภาพดูมีความลึกเพิ่มอีกมิติหนึ่งได้ โดยการจัดภาพให้มีทั้งฉากหน้า วัตถุ และฉากหลัง ทำให้แต่ละช่วงดูต่างจากกัน อาจจะต่างกันที่โทนสี น้ำหนักของแสง ความคมชัด ด้วยการจัดวางที่ดีทำให้ภาพดูมีความลึกขึ้น




กรอบภาพ (Framing)

ภาพบางภาพอาจดูโล่ง ๆ แต่หากเราแต่งภาพโดยให้มีฉากหน้า เช่นให้มีกิ่งไม้ใบไม้มาแซม ๆ ที่ขอบภาพ สามารถทำให้ภาพดูดขึ้นไม่โล่งเหมือนเดิม การประกอบภาพด้วยขอบประตู หรือขอบหน้าต่างไว้ในบริเวณขอบของภาพสักสองถึงสี่ด้านก็ช่วยให้ภาพนั้น ๆ ดูไม่โล่งจนเกินไปได้เช่นกัน การจัดให้มีกรอบภาพแบบธรรมชาตินี้ยังเป็นเทคนิคที่ช่วยให้จุดสนใจดูเด่นขึ้นและยังเพิ่มมิติให้กับภาพได้




การครอบตัด (Cropping)

บางครั้งการถ่ายภาพมีข้อจำกัดทำให้ไม่สามารถถ่ายภาพวัตถุหลักให้มีขนาดใหญ่เท่าที่ต้องการอาจจะเนื่องจากถ่ายในระยะไกลเกินไป หรือบางครั้งภาพที่ถ่ายนั้นพบว่าจุดสนใจหลักถูกแย่งความสนใจจากสิ่งที่อยู่รอบ ๆ  การครอบตัดเอาส่วนรอบนอกของภาพที่ไม่จำเป็นออกไปจึงช่วยแก้ปัญหานี้ได้ ช่วยทำให้สัดส่วนของจุดสนใจให้ใหญ่ขึ้นเทียบกับพื้นที่ที่เหลืออยู่ ในขณะที่กำลังเลือกส่วนเกินที่จะตัดออกนั้น ให้พิจารณาดูว่าตำแหน่งของจุดสนใจจะถูกเลื่อนไปอยู่ในตำแหน่งใดของภาพ ให้ใช้กฏสามส่วนมาปรับปรุงให้ภาพสมบูรณ์ขึ้น การตัดส่วนเกินออกก็มีข้อเสียคือทำให้รายละเอียดของภาพด้อยลง จึงไม่ควรทำการตัดส่วนเกินออกมากจนเกินไป และหากเป็นไปได้ ในช่วงทำการบันทึกภาพให้เดินเข้าไปใกล้วัตถุมากขึ้น หรือใช้เลนส์ซูมดึงภาพให้เข้ามาใกล้ขึ้น

  

โรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์ ผู้เชี่ยวชาญงานพิมพ์ทุกชนิดทุกประเภทไม่ว่างานเล็ก/งานใหญ่

บริการพิมพ์งานคุณภาพมาตรฐานด้วยประสบการณ์ในธุรกิจโรงพิมพ์มายาวนาน รับพิมพ์ทั้งงานเล็ก/งานใหญ่ พิมพ์สีเดียว พิมพ์สี่สี พิมพ์สอดสี หรือพิมพ์ด้วยระบบออฟเซ็ท ระบบดิจิตอล ซิลค์สกรีน ฯลฯ ราคายุติธรรม ส่งมอบงานพิมพ์ตรงเวลา รับให้คำปรึกษาด้านออกแบบ/งานพิมพ์  


โรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์รับพิมพ์แผ่นพับ/พิมพ์ใบปลิว
พิมพ์แผ่นพับ/ใบปลิว


โรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์รับพิมพ์โบรชัวร์
พิมพ์โบรชัวร์

โรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์รับพิมพ์แคตตาล็อก
พิมพ์แคตตาล็อก

โรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์รับพิมพ์หนังสือ/พิมพ์วารสาร
พิมพ์หนังสือ/วารสาร

โรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์รับพิมพ์นิตยสาร
พิมพ์นิตยสาร

โรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์รับพิมพ์รายงานประจำปี
พิมพ์รายงานประจำปี

โรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์รับพิมพ์โปสเตอร์
พิมพ์โปสเตอร์

โรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์รับพิมพ์ปฏิทิน
พิมพ์ปฏิทิน

โรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์รับพิมพ์การ์ดเชิญ/การ์ดประเภทต่าง ๆ
พิมพ์การ์ด/บัตรเชิญ

โรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์รับพิมพ์นามบัตร
พิมพ์นามบัตร

โรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์รับพิมพ์กระดาษหัวจดหมาย
พิมพ์หัวจดหมาย

โรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์รับพิมพ์ซองกระดาษ
พิมพ์ซองกระดาษ

โรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์รับพิมพ์แฟ้มกระดาษ
พิมพ์แฟ้มกระดาษ

โรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์รับพิมพ์แบบฟอร์ม
พิมพ์แบบฟอร์ม
   

โรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์รับพิมพ์ฉลากสินค้า
พิมพ์ฉลากสินค้า

โรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์รับพิมพ์กล่องกระดาษ/กล่องบรรจุภัณฑ์
พิมพ์กล่องบรรจุภัณฑ์

โรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์รับพิมพ์ถุงกระดาษ
พิมพ์ถุงกระดาษ
 
 
 

 

สร้างคุณค่าของสินค้า
               ด้วยถุงกระดาษเท่ๆ
สุพรีมพริ้นท์ ผู้เชี่ยวชาญทำ ถุงกระดาษ
สุพรีมพริ้นท์ ช่วยทำถุงของคุณให้เด่นเป็นสง่า 

สุพรีมพริ้นท์
โรงพิมพ์ถุงกระดาษ ถุงช้อปปิ้ง (Shopping bags) ถุงหูหิ้ว ถุงใส่ของ ถุงน้ำตาล ถุงร้อยเชือก ถุงโฆษณา เรารับทำถุงกระดาษทุกประเภท ราคาย่อมเยา

« ดูรายละเอียดบริการทำถุงกระดาษ 

  สายด่วนติดต่อฝ่ายขาย 
       โทร : 0 2722 08600 2321 3452 ต่อ 103
     email : 
sales.supremeprint@gmail.com 
               line : Supremeprint

 

 
 

กลับหน้าแรกโรงพิมพ์




เทคนิคการถ่ายภาพขั้นพื้นฐาน

เรียนรู้การใช้กล้องขั้นพื้นฐานอย่างถูกวิธี article
เรื่องของแสงและเงา (Light and Shade) article
อารมณ์และความหมายของภาพ article