ReadyPlanet.com
dot
บริการงานพิมพ์ทั่วไป
dot
bulletแผ่นพับ/ใบปลิว : รับทำ/พิมพ์
bulletโบรชัวร์ : รับทำ/พิมพ์
bulletแคตตาล็อก : รับทำ/พิมพ์
bulletหนังสือ/วารสาร : รับทำ/พิมพ์
bulletนิตยสาร/แมกกาซีน: รับทำ/พิมพ์
bulletรายงานประจำปี : รับทำ/พิมพ์
bulletโปสเตอร์ : รับทำ/พิมพ์
bulletปฏิทิน : รับทำ/พิมพ์
bulletการ์ด/บัตรเชิญ : รับทำ/พิมพ์
bulletนามบัตร : รับทำ/พิมพ์
bulletหัวจดหมาย : รับทำ/พิมพ์
bulletซองกระดาษ : รับทำ/พิมพ์
bulletแฟ้มกระดาษ : รับทำ/พิมพ์
bulletแบบฟอร์ม : รับทำ/พิมพ์
bulletสิ่งพิมพ์อื่นๆ : รับทำ/พิมพ์
dot
บริการงานพิมพ์บรรจุภัณฑ์
dot
bulletฉลากสินค้า : รับทำ/พิมพ์
bulletกล่องบรรจุภัณฑ์ : รับทำ/พิมพ์
bulletถุงกระดาษ : รับทำ/พิมพ์
dot
บริการด้านอื่น ๆ
dot
bulletรับออกแบบจัดทำต้นฉบับ
bulletรับถ่ายภาพ/ทำรีทัช
dot
เรื่องของกระดาษ
dot
bulletกระดาษ: ความหมาย/ความเป็นมา
bulletองค์ประกอบของกระดาษ
bulletสมบัติเชิงโครงสร้างของกระดาษ
bulletกระบวนการผลิตกระดาษ
bulletชนิดของกระดาษ
bulletมาตรฐานขนาดของกระดาษ
bulletการใช้กระดาษสำหรับงานพิมพ์
dot
เรื่องของการพิมพ์
dot
bulletการพิมพ์: ความหมาย/วิวัฒนาการ
bulletประวัติการพิมพ์ในเมืองไทย
bulletประเภทของการพิมพ์
bulletขบวนการผลิตสิ่งพิมพ์
bulletหลักการเลือกใช้โรงพิมพ์
dot
เรื่องของการออกแบบสิ่งพิมพ์
dot
bulletขบวนการการออกแบบสิ่งพิมพ์
bulletองค์ประกอบและหลักการออกแบบสิ่งพิมพ์
bulletการจัดเลย์เอ้าท์โดยใช้กริด
dot
เรื่องของการถ่ายภาพ
dot
bulletประวัติของกล้องถ่ายภาพ
bulletหลักการทำงานของกล้อง
dot
เรื่องน่ารู้
dot
bulletขั้นตอนการสั่งทำงานพิมพ์
bulletข้อควรระวังในการออกแบบสิ่งพิมพ์
bulletRGB vs CMYK
bulletColour Chart vs โรงพิมพ์
bulletการจดหัวหนังสือ vs โรงพิมพ์
bulletสิ่งพิมพ์โฆษณา/ประชาสัมพันธ์
bulletคุณภาพงานพิมพ์ขึ้นอยู่กับ...
bulletถาม / ตอบ โรงพิมพ์ >>
dot
อื่น ๆ
dot
bulletบริหารและจัดการ


ค้นหาด้วยกูเกิ้ล


> Structures

Structures

                         
 

เคล็ดลับการถ่ายภาพสิ่งก่อสร้าง

เรียบเรียงโดย สุพรีมพริ้นท์ โรงพิมพ์คุณภาพ รับงานพิมพ์และงานรีทัชภาพ

สิ่งปลูกสร้างที่กล่าวถึงนี้จะรวมถึงตึกรามบ้านช่อง ปูชนียสถาน สิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ ฯลฯ การถ่ายภาพสิ่งปลูกสร้างนอกจากจะได้ภาพที่สวยงามมีความเป็นศิลปะแล้ว ยังเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเล่าเรื่องราวของสิ่งปลูกสร้างนั้นแก่คนทั่วไป โดยที่บางคนอาจไม่มีโอกาสมาเยี่ยมสถานที่สิ่งปลูกสร้างนั้นเลย ภาพถ่ายสิ่งปลูกสร้างเป็นภาพที่แสดงเหตุการณ์เรื่องราวของสิ่งปลูกสร้าง ณ เวลาขณะที่ทำการบันทึกภาพเท่านั้น ไม่ได้ย้อนไปถึงเรื่องราวตอนที่กำลังก่อสร้างอยู่ หรือเลยไปถึงช่วงเวลาที่เห็นสภาพความทรุดโทรมของสิ่งปลูกสร้างตามสภาพของลมฟ้าอากาศ หรืออาจจะดูใหม่ขึ้นเนื่องจากมีการซ่อมบำรุง
เคล็ดลับที่จะกล่าวต่อไปเป็นส่วนหนึ่งในคำแนะนำเกี่ยวกับการถ่ายภาพสิ่งปลูกสร้าง แน่นอนที่สุดช่างภาพจะประสบความสำเร็จได้ก็ขึ้นอยู่กับการฝึกฝนและพัฒนาไปเรื่อยๆ

ถ่ายในภูมิอากาศที่แตกต่างกัน ในเวลาที่ต่างๆ กัน

คนส่วนใหญ่มักจะเลือกเวลาถ่ายภาพช่วงเย็นจนถึงเวลาพระอาทิตย์ตก ซึ่งเป็นเวลาที่แสงที่ไม่แรงมาก ให้สีสันที่ดี และได้เงาที่ทอดยาว แต่นั่นเป็นการแสดงบรรยากาศเพียงช่วงเวลาหนึ่งของสิ่งปลูกสร้างนั่นเท่านั้น แต่หากเรามีเวลาแวะเยี่ยมสถานที่ของสิ่งปลูกสร้างนั้นได้บ่อยครั้ง การถ่ายสิ่งปลูกสร้างในเวลาที่แตกต่างกันของแต่ละวัน รวมถึงในสภาพอากาศที่แตกต่างกัน นำมาจัดทำเป็นชุด จะเป็นการเล่าเรื่องราวของสิ่งปลูกสร้างนั้นกับสิ่งแวดล้อมที่เป็นไป

แสงเป็นเรื่องสำคัญอันดับแรก

ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายภาพใดๆ แสงที่ดีถือเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกที่จะทำให้ภาพถ่ายดูดี เช่นกันในการถ่ายสิ่งปลูกสร้าง แสงที่ดีจะช่วยก่อเกิดแสงเงาต่างๆ ของสิ่งปลูกสร้างนั้น ทำให้เห็นรูปทรงของมัน มีมิติขึ้น รวมทั้งสร้างบรรยากาศให้กับภาพบอกกล่าวเป็นเรื่องเป็นราว ไม่ว่าจะเป็นแสงธรรมชาติ หรือแสงที่จัดแต่งขึ้น หากสามารถจับจังหวะที่แสงตกลงบนตำแหน่งที่ต้องการสร้างความสนใจของภาพ จะช่วยสร้างภาพนั้นให้โดดเด่นดูดียิ่งขึ้น

มองหามุมถ่ายที่ได้ภาพเยี่ยม

การถ่ายในมุมมองที่คนทั่วๆ ไปถ่าย จะทำให้ภาพที่ออกมาค่อนข้างจำเจและอาจจะน่าเบื่อ ยกเว้นสิ่งปลูกสร้างนั้นมีน้อยคนจะเข้าถึงหรือรู้จัก การที่เราสำรวจรอบๆ หามุมมองที่แปลกตาออกไป อาจจะเป็นภาพมุมสูง มุมเงย เป็นภาพมุมกว้างพิเศษที่เห็นส่วนประกอบต่างๆ โดยรวม หรือจะเป็นภาพในแนวแอ็บสแตรกต์ (Abstracts Photography) การหามุมมองใหม่ๆ เหล่านี้จะทำให้เรายกระดับของภาพถ่ายให้สวยงามและเป็นที่ชื่นชอบขึ้น

ไม่ต้องกังวลหากมีคนปรากฏในภาพ

ภาพถ่ายสิ่งปลูกสร้างที่มีชื่อเสียงที่ผ่านๆ มา มักจะพบว่าไม่มีบุคคลปรากฏอยู่ในรูป เคยมีนิตยสารเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมเล่มหนึ่งปฏิเสธที่จะเอาภาพสถาปัตย์ภาพหนึ่งที่มีคนปรากฏอยู่ขึ้นปกของนิตยสาร ต่อเมื่อเปลี่ยนเอาจักรยานมาใส่แทนคนจึงจะยอมรับ ในยุคปัจจุบันช่างภาพสถาปัตยกรรมรุ่นหลังๆ ก็พยายามก้าวข้ามข้อกำหนดนี้ ความเป็นจริงถ้าไม่มีคนก็จะไม่มีสิ่งปลูกสร้าง ดังนั้นจงอย่าอายที่จะแสดงบุคคลร่วมกับสิ่งปลูกสร้างในภาพถ่ายของเรา

ถ่ายภาพจุดเล็กๆ เช่นเดียวกับถ่ายภาพรวม

ถึงแม้การใช้เลนส์มุมกว้างจะเป็นบรรทัดฐานในการถ่ายภาพสิ่งปลูกสร้างเพื่อสามารถที่จะเก็บส่วนของรูปทรงทั้งหมดไว้ในภาพถ่ายได้ สิ่งปลูกสร้างส่วนใหญ่มักจะมีรายละเอียดแยกย่อยตามจุดต่างๆ ซึ่งไม่สามารถที่จะรวบรวมทั้งหมดให้เห็นภายในภาพหนึ่งภาพได้ ให้ลองสำรวจโดยรอบสถานที่ ดูรายละเอียดของสิ่งปลูกสร้างตามจุดต่างๆ เก็บภาพที่น่าสนใจไว้ นอกจาได้ภาพสวยงามแล้วภาพเหล่านี้ก็จะเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ของสิ่งปลูกสร้างนั้น

จัดหาอุปกรณ์ถ่ายภาพให้เพียงพอ

การถ่ายภาพสิ่งปลูกสร้างต้องการกล้องที่มีคุณภาพเพียงพอ มีหน่วยรับภาพที่ใหญ่ เพื่อให้ได้รายละเอียดภาพที่ดีเมื่อขยายใหญ่ มีเลนส์ที่มีคุณภาพ ให้ความคมชัดทุกตำแหน่งของภาพ ไม่ใช่ว่าคมชัดเฉพาะส่วนกลางภาพ ริมขอบภาพกลับไม่คมชัด เลนส์ที่ควรใช้เป็นหลักคือเลนส์ถ่ายภาพมุมกว้าง ควรมีขาตั้งกล้องเพื่อยึดกล้องให้อยู่ในตำแหน่งที่แน่นอน ไม่สั่นไหวแม้จะใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำ ควรมีสายลั่นชัตเตอร์ เพื่อไม่ต้องกดที่ปุ่มชัตเตอร์โดยตรงอันจะทำให้กล้องมีโอกาสสั่นไหว การถ่ายนอกสถานที่ควรมีฟิลเตอร์ ND (Neutral Density filter) และฟิลเตอร์โพลาไรซ์ (Polarizing filter) เพื่อช่วยลดทอนแสงจากท้องฟ้าและแสงสะท้อน

หมั่นเยี่ยมสถานที่หลายๆ ครั้ง

หากมีโอกาส ให้หมั่นเยี่ยมเยียนสถานที่สิ่งปลูกสร้าง การไปบ่อยๆ มีโอกาสเห็นบรรยากาศของสถานที่ที่ต่างออกไป ตามเวลาและสภาพอากาศที่แตกต่างกัน และทำให้เห็นมุมมองใหม่ๆ การแวะบ่อยครั้ง บางช่วงอาจจะเห็นการซ่อมแซม ทำสีใหม่ หรือมีการก่อสร้างเพิ่มเติม ซึ่งจะทำให้เราได้ภาพที่สดใหม่ สิ่งเหล่านี้รอคอยให้เราเป็นกลุ่มแรกๆ ที่จะทำการบันทึกภาพเหล่านี้ไว้

สำรวจสถานที่ก่อนถ่ายทำ

ก่อนจะทำการเยือนและถ่ายทำสิ่งปลูกสร้างใด ควรศึกษาประวัติความเป็นมาและแนวคิดของศิลปะต่างๆ ที่นำมาใช้ในส่วนต่างๆ ของสิ่งปลูกสร้างนั้น การทราบเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งปลูกสร้างจะช่วยให้เราเข้าใจแก่นแท้ของสิ่งปลูกสร้างและดึงเอาความหมายเหล่านี้มาปรากฏบนภาพถ่าย ตลอดจนแนวการถ่ายภาพจะคล้อยตามแนวคิดของสิ่งปลูกสร้างนั้น 

ตกแต่งภาพหลังถ่ายทำ

การตกแต่งภาพหลังการถ่ายถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการถ่ายภาพในปัจจุบัน นอกจากใช้แก้ไขจุดบกพร่องเล็กๆ น้อยๆ แล้ว ยังสามารถปรับปรุงบรรยากาศของภาพให้เป็นไปตามที่ช่างภาพต้องการ อย่างไรเสียการตกแต่งปรับปรุงภาพให้คำนึงถึงความสมจริงของภาพด้วย โปรแกรมตกแต่งภาพที่นิยมใช้กัน ก็มีโปรแกรม Photoshop และ Lightroom ซึ่งในปัจจุบันมีฟังชั่นที่เกี่ยวกับการใช้กล้อง เช่น การแก้ไขความผิดพลาดเบี่ยงเบนของเลนส์ หากต้องการทำภาพพาโนรามา (Panorama) โดยเอาภาพถ่ายหลายๆ ภาพมาต่อกันก็ใช้โปรแกรม Hugin

ภาพถ่ายสิ่งก่อสร้าง (Structures)

คลิกเลือกหมวดภาพ

People | Animals | Scenery | Structures | Operations | Objects | Abstracts | Miscellaneous |

ภาพที่แสดงเป็นภาพรายละเอียดต่ำ ไม่สงวนสิทธ์ในการนำไปใช้งานยกเว้นภาพที่มีลายน้ำและภาพบุคคล สนใจภาพรายละเอียดสูงโปรดติดต่อ
โรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์  โทร 02722 0860  email:
sales.supremeprint@gmail.com

The presenting images are in low resolution and are free for use except those embossed with watermarks and those concerning person(s). For high resolution images, please contact Supremeprint: 02722 0860 email:
sales.supremeprint@gmail.com