ReadyPlanet.com
dot
บริการงานพิมพ์ทั่วไป
dot
bulletแผ่นพับ/ใบปลิว : รับทำ/พิมพ์
bulletโบรชัวร์ : รับทำ/พิมพ์
bulletแคตตาล็อก : รับทำ/พิมพ์
bulletหนังสือ/วารสาร : รับทำ/พิมพ์
bulletนิตยสาร/แมกกาซีน: รับทำ/พิมพ์
bulletรายงานประจำปี : รับทำ/พิมพ์
bulletโปสเตอร์ : รับทำ/พิมพ์
bulletปฏิทิน : รับทำ/พิมพ์
bulletการ์ด/บัตรเชิญ : รับทำ/พิมพ์
bulletนามบัตร : รับทำ/พิมพ์
bulletหัวจดหมาย : รับทำ/พิมพ์
bulletซองกระดาษ : รับทำ/พิมพ์
bulletแฟ้มกระดาษ : รับทำ/พิมพ์
bulletแบบฟอร์ม : รับทำ/พิมพ์
bulletสิ่งพิมพ์อื่นๆ : รับทำ/พิมพ์
dot
บริการงานพิมพ์บรรจุภัณฑ์
dot
bulletฉลากสินค้า : รับทำ/พิมพ์
bulletกล่องบรรจุภัณฑ์ : รับทำ/พิมพ์
bulletถุงกระดาษ : รับทำ/พิมพ์
dot
บริการด้านอื่น ๆ
dot
bulletรับออกแบบจัดทำต้นฉบับ
bulletรับถ่ายภาพ/ทำรีทัช
dot
เรื่องของกระดาษ
dot
bulletกระดาษ: ความหมาย/ความเป็นมา
bulletองค์ประกอบของกระดาษ
bulletสมบัติเชิงโครงสร้างของกระดาษ
bulletกระบวนการผลิตกระดาษ
bulletชนิดของกระดาษ
bulletมาตรฐานขนาดของกระดาษ
bulletการใช้กระดาษสำหรับงานพิมพ์
dot
เรื่องของการพิมพ์
dot
bulletการพิมพ์: ความหมาย/วิวัฒนาการ
bulletประวัติการพิมพ์ในเมืองไทย
bulletประเภทของการพิมพ์
bulletขบวนการผลิตสิ่งพิมพ์
bulletหลักการเลือกใช้โรงพิมพ์
dot
เรื่องของการออกแบบสิ่งพิมพ์
dot
bulletขบวนการการออกแบบสิ่งพิมพ์
bulletองค์ประกอบและหลักการออกแบบสิ่งพิมพ์
bulletการจัดเลย์เอ้าท์โดยใช้กริด
dot
เรื่องของการถ่ายภาพ
dot
bulletประวัติของกล้องถ่ายภาพ
bulletหลักการทำงานของกล้อง
dot
เรื่องน่ารู้
dot
bulletขั้นตอนการสั่งทำงานพิมพ์
bulletข้อควรระวังในการออกแบบสิ่งพิมพ์
bulletRGB vs CMYK
bulletColour Chart vs โรงพิมพ์
bulletการจดหัวหนังสือ vs โรงพิมพ์
bulletสิ่งพิมพ์โฆษณา/ประชาสัมพันธ์
bulletคุณภาพงานพิมพ์ขึ้นอยู่กับ...
bulletถาม / ตอบ โรงพิมพ์ >>
dot
อื่น ๆ
dot
bulletบริหารและจัดการ


ค้นหาด้วยกูเกิ้ล


ไขรหัสสี ประกายทอง: ทองหลากสี

ไขรหัสสี ประกายทอง: ทองหลากสี (Colors of Gold)

สารบัญ: บทนำ • ความหมายของ “กะรัต” • สีของทอง • ทองสีอื่นๆ • การเปรียบเทียบสีของทองผสม • ประเภทของทองที่ใช้ทำเครื่องประดั • บทสรุป

บทนำ

ทองคำ (Gold) เป็นกลุ่มธาตุโลหะ มีสัญลักษณ์ว่า Au (Aurum) ทองบริสุทธิ์หรือทอง 24 กะรัตจะมีสีเหลืองอมแดงเล็กน้อย และเป็นโลหะที่ค่อนข้างนิ่ม ทองที่ใช้ทำเครื่องประดับต่างๆ ส่วนใหญ่จึงมักมีแร่โลหะอื่นผสมเข้าไปเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งทนทาน โลหะที่นำมาผสมกับทอง เช่น แร่เงิน (Silver)  ทองแดง (Copper) สังกะสี (Zinc) แพลเลเดียม (Palladium) และนิกเกิล (Nickel) ทำให้ทองผสมมีสีต่างๆ กันออกไปขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของโลหะที่นำมาผสมนั้นๆ 

เนื่องจากส่วนใหญ่เราคุ้นเคยพบเห็นทองหรือภาพของทองที่ใช้วงการเครื่องประดับในชีวิตประจำวัน ในบทความนี้ก็จะกล่าวถึงทองที่ใช้ในวงการเครื่องประดับนี้

ความหมายของ “กะรัต”

สำหรับอัญมณี คำว่า กะรัต (Carat) คือหน่วยในการวัดน้ำหนักของเพชรพลอย 1 กะรัต หนักเท่ากับ 0.20 กรัม สำหรับทอง กะรัต (Karat) เป็นหน่วยวัดความบริสุทธิ์ของทอง โดยตั้งค่าทองบริสุทธิ์ซึ่งมีส่วนผสมของทองมากกว่า 99.7% มีค่าเท่ากับ 24 กะรัต (24K)
ทอง 24 กะรัต (24K) ทองบริสุทธิ์
ทอง 18 กะรัต (18K)  ประกอบด้วยทอง 18 ส่วน (18/24) และโลหะอื่น  6 ส่วน (6/24) ทำให้มีส่วนผสมของทอง 75%
ทอง 14 กะรัต (14K)  ประกอบด้วยทอง 14 ส่วน (14/24) และโลหะอื่น 10 ส่วน (10/24) ทำให้มีส่วนผสมของทอง 58.3%
ทอง 12 กะรัต (12K)  ประกอบด้วยทอง 12 ส่วน (12/24) และโลหะอื่น 12 ส่วน (12/24) ทำให้มีส่วนผสมของทอง 50%
ทอง 10 กะรัต (10K)  ประกอบด้วยทอง 10 ส่วน (10/24) และโลหะอื่น 14 ส่วน (14/24) ทำให้มีส่วนผสมของทอง 41.7%
ในประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนผสมของทองที่ต่ำกว่า 10 กะรัต (10K) จะไม่เรียกวัสดุชิ้นนั้นว่าเป็นทอง

สีของทอง

ทองในท้องตลาดที่พบเห็นบ่อยๆ จะอยู่ในส่วนของเครื่องประดับต่างๆ สีของทองที่พบเห็นโดยทั่วไปจะมีดังนี้

ทองสีเหลือง (Yellow Gold)


แหวนทองสีเหลือง 24 กะรัต (สามารถดัดได้)
 
เป็นทองที่มีสีเหลืองสว่าง มีความบริสุทธิ์ตั้งแต่ 18 กะรัตขึ้นไป เกิดจากการผสมทอง 75% กับแร่ทองแดง 12.5% และเงิน 12.5% เป็นทองที่นิยมกันในวงการเครื่องประดับ มีความแกร่ง ดูแลรักษาน้อย ไม่ค่อยพบอาการแพ้เมื่อสัมผัสกับผิวหนัง หากทำเป็นทอง 14 กะรัต จะได้สีเหลืองที่อ่อนลง

ทองสีขาว (White Gold)

แหวนทองสีขาว 14 กะรัต และแหวนทองสีขาว 18 กะรัต
ภาพจาก https://www.apart.eu/jewellery/14ct-white-gold-ring-with-diamond/25576
https://www.brilliantearth.com/Petite-Twisted-Vine-Diamond-Ring-(1/8-ct.-tw.)-White-Gold-BE1D54-3821855/
 
ความขาวของทองชนิดนี้เกิดจากการผสมทองบริสุทธิ์กับโลหะสีขาวอย่างน้อยหนึ่งชนิด โดยทั่วไปจะเป็นแร่นิกเกิล เงิน หรือ แพลเลเดียม แต่ก็อาจผสมกับแร่แพลทินัมหรือทองคำขาวซึ่งมีราคาแพงก็ได้ ทองสีขาวจะมีความทนทานและกันรอยขีดข่วนได้ดีกว่าทองสีเหลือง ในสมัยก่อนทองสีขาวจะมีส่วนของทอง 90% กับนิกเกิล 10% ต่อมาพบว่าเมื่อนิกเกิลสัมผัสกับผิวหนังมีโอกาสทำให้เกิดอาการแพ้ได้ จึงมีการนำแร่แพลเลเดียมมาใช้ผสมแทน สำหรับทองสีขาวในเครื่องประดับที่มีราคาสูงก็จะใช้แร่แพลทินัมมาผสม

ทองสีดอกกุหลาบ (Rose Gold)

แหวนทองสีแดง 18 กะรัต แหวนทองสีกุหลาบ 14 กะรัต และแหวนทองสีชมพู 14 กะรัต ตามลำดับ
ทองสีกุหลาบนี้รวมถึงทองสีแดง (Red Gold) และทองสีชมพู (Pink Gold) ด้วย สีทองอมชมพูของทองสีกุหลาบมาจากส่วนผสมที่มีแร่ทอง ทองแดงและเงิน สูตรผสมที่นิยมทำกันของทอง 18 กะรัต คือ ทอง 75%  ผสมกับทองแดง 22.25% และเงิน 2.75% ความแตกต่างของสีที่ปรากฏขึ้นระหว่างทองสีแดง ทองสีกุหลาบ และทองสีชมพู เกิดจากปริมาณที่ต่างกันของแร่ทองแดงที่ถูกใส่ลงไปในส่วนผสม ทองสีกุหลาบสามารถเพิ่มส่วนผสมของทองจนทำให้ได้ทองสูงถึง 22 กะรัต และมีชื่อเรียกว่าทองมงกุฎ (Crown Gold) เนื่องจากมีปริมาณส่วนผสมของแร่ทองแดงสูง จึงทำให้ทองสีกุหลาบมีความทนทานกว่าทองสีเหลืองและทองสีขาว และด้วยคุณสมบัติที่ทนทานนี้ประกอบกับสีอมชมพูที่สวยงาม จึงเป็นที่นิยมทำเป็นแหวนหมั้น กำไล และเครื่องประดับอื่นๆ

ทองสีเขียว (Green Gold)


 
แหวนทองสีเขียว 14 กะรัต แหวนทองสีเขียว 18 กะรัต และแหวนทองสีเขียวอิเล็กตรัม 18 กะรัต
https://www.etsy.com/listing/278425510/electrum-green-gold-band-14k
 
ทองสีเขียวเกิดจากส่วนผสมของทองกับแร่เงิน แร่เงินจะทำให้สีของทองออกมาเป็นสีเขียวอ่อนๆ ออกไปทางสีเหลือง (จะไม่ใช่เขียวเข้มเหมือนสีผักใบเขียว) ทองสีเขียวรู้จักกันตั้งแต่เมื่อยุค 860 ปีก่อนคริสต์ศักราช มีชื่อเรียกว่า อิเล็กตรัม (Electrum) บางครั้งอาจจะมีการเติมส่วนผสมของ ทองแดงหรือ แคดเมียมลงไปเล็กน้อย กล่าวคือ ส่วนผสมของทอง 75% เงิน 15% ทองแดง 6% แคดเมียม 4% จะทำให้ได้ทองออกมาสีเขียวคล้ำขึ้นเล็กน้อย แต่ปัญหาสารแคดเมียมมีอันตรายต่อสุขภาพจึงใช้กันน้อย ความนิยมในทองสีเขียวจะอยู่ลำดับถัดจากทองสีเหลือง ทองสีขาว และทองสีกุหลาบ 


เหรียญอิเล็กตรัมโบราณ (Electrum Coins)
 

ทองสีเทา (Grey Gold)


แหวนทองสีเทา 18 กะรัต และ
แหวนทองสีเทา 18 กะรัตมีงานไม้ขั้นกลาง
 
ทองสีเทาโดยปกติเป็นทอง 18 กะรัต เกิดจากการผสมของทองกับแร่แพลเลเดียม เนื่องจากแร่แพลเลเดียมมีราคาสูง ดังนั้นหากไม่ใช้แร่แพลเลเดียมก็สามารถใช้โลหะที่ถูกกว่าเช่นแร่เงิน แมงกานีส และทองแดงในสัดส่วนที่เหมาะสม ผู้ผลิตบางรายอาจใช้แร่เหล็กแร่เหล็กทองมาผสมกับก็ได้ผลเช่นกัน
 

ทองสีอื่นๆ 

นอกจากสีต่างๆ ของทองตามที่กล่าวมาแล้ว ยังมีการใช้กรรมวิธีต่างๆ เพื่อให้ได้ทองที่มีสีและคุณสมบัติต่างกันออกไป บางเฉดสีก็ไม่ค่อยได้เห็นในท้องตลาดมากนัก เช่น 

ทองสีน้ำเงิน (Blue Gold)


 
แหวนทองสีน้ำเงิน 14 กะรัต ชุบเคลือบผิวด้วยอินเดียม/แกลเลียม
ซึ่งมีส่วนผสมของแร่อินเดียม (Indium) 54% ทำให้ได้ทองประมาณ 11 กะรัต ผลที่ได้จะเป็นทองสีน้ำเงินที่สวยงาม หรืออาจนำทองผสมกับแร่แกลเลียม (Gallium) ซึ่งจะได้สีน้ำเงินที่อ่อนกว่า บางแห่งอาจใช้แร่เหล็กซึ่งมีราคาถูกมาผสมแทนก็ได้ ในกรณีที่ต้องการทองสีฟ้าที่มีเนื้อทองสูง 20 ถึง 23 กะรัต สามารถทำได้โดยนำทองไปผสมกับแร่รูทีเนียม (Ruthenium) และแร่โรเดียม (Rhodium) ก็จะได้ทองสีน้ำเงินที่เข้มและสวยงาม ปัจจุบันมีการใช้ทองผสม 14 กะรัตแล้วใช้วิธีตกแต่งผิว เช่น การชุบด้วยไฟฟ้า การใช้เลเซอร์ตกแต่งผิว ฯลฯ ซึ่งก็สามารถทำให้ได้สีที่สวยงาม

ทองสีม่วง (Purple Gold)


แหวนทองสีม่วงทำในครัวเรือน
ภาพจาก https://www.etsy.com/
 
เป็นทองที่เกิดจากการผสมระหว่างทองกับแร่อลูมิเนียม ความเข้มของสีม่วงขึ้นอยู่กับปริมาณของอลูมิเนียมที่นำมาผสม ผู้จำหน่ายบางรายเรียกทองชนิดนี้ว่า ทองอเมทิสต์ (Amethyst Gold) เพื่อให้เป็นทองที่ดูมีราคา แต่ปัญหาของทองสีม่วงคือมีความเปราะบาง จึงไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนัก

ทองสีดำ (Black Gold)


แหวนทองสีดำ เคลือบผิวด้วยโรเดียมสีดำ
ทองสีดำโดยทั่วไปทำได้โดยใช้วิธีการตกแต่งผิวภายนอกให้เป็นสีดำ  มีกรรมวิธีหลายแบบ เช่น ใช้สารประกอบของกำมะถัน (Sulphur) กับออกซิเจนโดยใช้ขบวนการออกซิเดชัน (Oxidation) ทำให้เกิดออกไซด์ที่ผิว หรือใช้ทองผสม 75% กับแร่โคบอลต์ (Cobalt) 25% แล้วนำไปทำให้เกิดออกไซด์ที่ผิว บางแห่งอาจจะเคลือบผิวของทองผสมด้วยแร่โรเดียม (Rhodium) หรือโลหะอย่างอื่น เป็นต้น  วิธีการทำให้ผิวเป็นสีดำนี้จะอยู่ได้ไม่ทนถาวรเนื่องจากมีโอกาสถลอกหรือหลุดลอกเมื่อถูกใช้งานนานๆ

ทองคำเปลว (Gold Leaf)



ทองคำเปลว

เป็นทองที่ถูกนำมาตีแผ่จนได้เป็นแผ่นบางๆ มีกระดาษบางๆ ที่พับครึ่งหุ้มไว้เพื่อสะดวกในการพกพาและจัดเก็บ ทองคำเปลวที่ดีทำจากทองคำบริสุทธิ์ 99.7% ขึ้นไป มีสีเหลืองอมแดงเล็กน้อย ทองคำเปลวที่มีสีแตกต่างออกไปเกิดจากมีโลหะอื่นมาผสม ประโยชน์ของทองคำเปลวคือ ใช้สำหรับการปิดทองบนวัสดุ ประติมากรรม หรือปิดบนองค์พระพุทธรูปตลอดจนวัตถุมงคลทั้งหลาย ทองคำเปลวที่มีคุณภาพจะมีสีสว่างเป็นประกาย จะติดผิววัสดุได้ง่าย หากสัมผัสกับผิวหนังจะแตกตัวง่ายและติดกับผิวหนังได้ดี

สุพรีมพริ้นท์ รอบรู้เรื่องสีสัน พิมพ์งานสมจริง

โรงพิมพ์ของเรามีความเข้าใจเรื่องเฉดสีของภาพต่างๆ ควบคุมให้ภาพสมจริง เราพิถีพิถันในงานพิมพ์ทุกขั้นตอนเพื่อให้ได้งานที่มีคุณภาพ

ปรึกษาหรือสอบถามเพิ่มเติมได้นะคะ ที่:
แผนกขาย บริษัท สุพรีมพริ้นท์ จำกัด 
     โทร: 0 2722 08600 2321 345208 1499 7615
 แฟกซ์: 0 2722 0861
 e-mail: 
sales.supremeprint@gmail.com  
     line: 
Supremeprint 
  
ปุ่มเพิ่มเพื่อน/แชทกับโรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์ id: Supremeprintปุ่มกดต่อโทรศัพท์ไปยังโรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์ 02722 0860ปุ่มกดสู่หน้าแบบฟอร์มสอบถามโรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์


การเปรียบเทียบสีของทองผสม


 
ภาพแสดงผลของสีที่เกิดขึ้นจากสัดส่วนการผสมระหว่างทอง ทองแดง และเงิน
 
จากภาพจะเห็นว่าปริมาณส่วนผสมของแร่ทองแดงยิ่งสูง ทองผสมจะออกไปทางสีแดง หากปริมาณแร่เงินยิ่งสูงทองผสมจะออกไปเป็นสีขาว
 
 
ภาพเปรียบเทียบทองผสมต่างๆ กับสีที่ต่างกัน
 
 
ทองสีเหลืองหากมีปริมาณของทองในส่วนผสมน้อยลงจาก 18 กะรัต (18K) เป็น 14 กะรัต (14K) สีจะเริ่มอมแดงมากขึ้น
 
 
ทองสีดอกกุหลาบระหว่าง 14 กะรัต กับ 18 กะรัต จะมีสีต่างกันเล็กน้อย ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับปริมาณของแร่ทองแดงที่ใส่เข้าไป
 
 
ภาพเปรียบเทียบทองสีขาวที่มีส่วนผสมของโลหะต่างๆ และในปริมาณที่ต่างกันโดยเปรียบเทียบกับแร่โรเดียม (Rhodium)
 

ประเภทของทองที่ใช้ทำเครื่องประดับ

 

เครื่องประดับทองล้วน (Solid Gold Jewelry)

คือชิ้นงานทองที่มีเนื้อในและผิวนอกเป็นทองเนื้อเดียวกัน จึงมีราคาสูง มีทั้งทอง 10, 14, 18 และ 24 กะรัต ทองประเภทนี้ไม่มีปัญหาว่าสีจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นเพราะแม้จะสึกหรอตามการใช้งานก็ยังเป็นทองเนื้อเดียวกัน

เครื่องประดับทองหุ้ม (Gold filled Jewelry)

คือชิ้นงานทองที่มีไส้ในเป็นโลหะอื่นเช่น ทองเหลือง เงิน นิกเกิล ฯลฯ ภายนอกจะหุ้มด้วยทองบางๆ 2 ถึง 3 ชั้นที่ถูกนำไปให้ความร้อน 900 องศาเซลเซียส แล้วสมานติดกับเนื้อในด้วยวิธีกดอัดความดันสูง จะได้ทองหุ้มที่มีชั้นของทองหนาประมาณ 5 ถึง 10 ไมครอน ทองที่นำมาใช้อาจเป็นทอง 10, 14, 18 หรือ 24 กะรัตก็ได้ ทองหุ้มนี้ เมื่อใช้ไปหลายสิบปีก็อาจจะสึกจนเห็นโลหะข้างในได้

เครื่องประดับทองชุบ (Gold Plated Jewelry)

ชิ้นงานทองประเภทนี้มีไส้ในที่เป็นโลหะอื่นเช่น ทองเหลือง ทองแดง เงิน นิกเกิล เป็นต้น แล้วใช้วิธีชุบทองด้วยไฟฟ้าแบบอิเล็กโทรเพลทติ้ง (Electroplating) ทองที่เคลือบผิวนั้นมีตั้งแต่ 10 ถึง 24 กะรัต มีความหนาประมาณ 0.5 ถึง 1.0 ไมครอน หากเพิ่มความหนาถึง 2.5 ไมครอน จะเรียกว่า ทองชุบอย่างหนา (Heavy Gold Plated) ทองชุบมีราคาถูกไม่สามารถขายตามน้ำหนักทองได้เพราะใช้ปริมาณทองไม่มาก มีโอกาสหมองและสึกหรอจนเห็นเนื้อโลหะข้างในได้ มักจะทำการชุบนิกเกิลก่อนทุบทองเพื่อคงความเงางามและป้องกันโมเลกุลของโลหะภายในมาแทรกซึมเนื้อของชั้นทอง

เครื่องประดับทองเวอร์มิล (Vermeil/silver gilt Jewelry)

เป็นทองชุบประเภทหนึ่งโดยใช้แร่เงินสเตอร์ลิง (Sterling Silver ซึ่งมีแร่เงิน 92.5 %) เป็นเนื้อของไส้ใน ชุบทองขั้นต่ำ 10 กะรัตขึ้นไป ความหนาอย่างต่ำ 2.5 ไมครอนตามมาตรฐานของสหรัฐอเมริกา 

เครื่องประดับทองชุบโรเดียม (Gold Rhodium Plated Jewelry)

ทองชุบประเภทนี้จะใช้ทองผสมสีขาว/สีเหลืองเป็นตัวเรือนแล้วชุบไฟฟ้าด้วยแร่โรเดียมให้ได้ความหนา 0.75 ถึง 1.0 ไมครอน (แร่โรเดียมเป็นแร่ที่มีราคาสูงกว่าทองคำ แต่มีลักษณะแข็งและเปราะ มักไม่นำมาผสมในเนื้อของทอง) เมื่อชุบแล้วชิ้นงานจะขาวและแวววาวขึ้น ในการชุบหากใช้ไฟแรงไป โรเดียมจะกลายเป็นสีดำ
 

บทสรุป

ในทางปฏิบัติแล้วทองสามารถทำสีได้หลายเฉดสีขึ้นอยู่กับโลหะและปริมาณของโลหะนั้นที่นำมาผสมกับทอง และหากใช้วิธีตกแต่งสีผิวของทองก็สามารถทำสีเข้มๆ ได้หลายหลากสี  ข้อควรคำนึงในการผลิตคือ มีกรรมวิธีการทำที่ถูกต้อง คุมต้นทุนของทองผสมได้ตามที่ต้องการ ทองผสมที่ได้มีความแข็งอยู่ในเกณฑ์ ไม่อ่อนเกินไป แข็งเกินไป หรือเปราะเกินไป สีของทองที่นิยมกันมากทั้งในอดีตและปัจจุบันคือ ทองสีเหลือง
 
 

 
 
โรงพิมพ์ของเรามีความเข้าใจเรื่องเฉดสีของภาพต่างๆ ควบคุมภาพให้สมจริง เราพิถีพิถันในงานพิมพ์ทุกขั้นตอนเพื่อให้ได้งานที่มีคุณภาพ

ปรึกษาหรือสอบถามเพิ่มเติมได้นะคะ ที่:
แผนกขาย บริษัท สุพรีมพริ้นท์ จำกัด 
     โทร: 0 2722 08600 2321 345208 1499 7615
 แฟกซ์: 0 2722 0861
 e-mail: 
sales.supremeprint@gmail.com  
     line: Supremeprin
t
 
 
ปุ่มเพิ่มเพื่อน/แชทกับโรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์ id: Supremeprintปุ่มกดต่อโทรศัพท์ไปยังโรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์ 02722 0860ปุ่มกดสู่หน้าแบบฟอร์มสอบถามโรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์
 

โรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์พิถีพิถันเรื่องสีสันงานพิมพ์ เน้นด้านคุณภาพงาน

ดูงานพิมพ์เพิ่มเติมของโรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์: 


โรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์รับพิมพ์แผ่นพับ/พิมพ์ใบปลิว
พิมพ์แผ่นพับ/ใบปลิว


โรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์รับพิมพ์โบรชัวร์
พิมพ์โบรชัวร์

โรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์รับพิมพ์แคตตาล็อก
พิมพ์แคตตาล็อก

โรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์รับพิมพ์หนังสือ/พิมพ์วารสาร
พิมพ์หนังสือ/วารสาร

โรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์รับพิมพ์นิตยสาร
พิมพ์นิตยสาร

โรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์รับพิมพ์รายงานประจำปี
พิมพ์รายงานประจำปี

โรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์รับพิมพ์โปสเตอร์
พิมพ์โปสเตอร์

โรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์รับพิมพ์ปฏิทิน
พิมพ์ปฏิทิน

โรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์รับพิมพ์การ์ดเชิญ/การ์ดประเภทต่าง ๆ
พิมพ์การ์ด/บัตรเชิญ

โรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์รับพิมพ์นามบัตร
พิมพ์นามบัตร

โรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์รับพิมพ์กระดาษหัวจดหมาย
พิมพ์หัวจดหมาย

โรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์รับพิมพ์ซองกระดาษ
พิมพ์ซองกระดาษ

โรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์รับพิมพ์แฟ้มกระดาษ
พิมพ์แฟ้มกระดาษ

โรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์รับพิมพ์แบบฟอร์ม
พิมพ์แบบฟอร์ม
   

โรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์รับพิมพ์ฉลากสินค้า
พิมพ์ฉลากสินค้า

โรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์รับพิมพ์กล่องกระดาษ/กล่องบรรจุภัณฑ์
พิมพ์กล่องบรรจุภัณฑ์

โรงพิมพ์สุพรีมพริ้นท์รับพิมพ์ถุงกระดาษ
พิมพ์ถุงกระดาษ
 
 
 

 

 
 

กลับหน้าแรกโรงพิมพ์




เรื่องของสี