
คำศัพท์ด้านการพิมพ์ ถ - ฟ ![]() คำศัพท์ด้านการพิมพ์ที่ใช้ในวงการ
แถบสี (Color Bar) คือแถบสีบนแผ่นพิมพ์ซึ่งอยู่นอกพื้นที่ของเนื้องาน ทางโรงพิมพ์ใช้สำหรับตรวจดูปริมาณหมึกที่จ่ายลงบนแผ่นพิมพ์ให้อยู่ในเกณฑ์ อีกทั้งยังมีประโยชน์ในการดูคุณภาพของงานพิมพ์ด้านต่าง ๆ
น้ำหนักกระดาษ หน่วยการวัดน้ำหนักของกระดาษ สำหรับโรงพิมพ์และผู้เกี่ยวข้องในเมืองไทยจะใช้หน่วยเป็น "กรัมต่อตารางเมตร" และมักเรียกสั้น ๆ ว่า "กรัม"
น้ำแห้ง เป็นคำที่ช่างพิมพ์ในโรงพิมพ์เรียกอาการที่เยื่อน้ำบนแผ่นเพลทน้อยจนทำให้หมึกพิมพ์ไปเกาะอยู่บนบริเวณทั่วไปของเพลทแทนที่จะเกาะเฉพาะบริเวณที่เป็นเม็ดสกรีน งานพิมพ์จึงดูเลอะหมึกตามไปด้วย
เนกาทีฟ (Negative) ภาพบนแผ่นฟิล์มที่มีแสงสีตรงข้ามกับความเป็นจริง ที่สว่างจะมืด ที่มืดจะกลับสว่าง
แนวขวางเกรนกระดาษ แนวของกระดาษทิศที่ตั้งฉากกับแนวเกรนของกระดาษ แนวทิศนี้กระดาษจะโค้งตัวมากกว่าและยืดตัวมากกว่าแนวเกรน แบบปั๊ม คือแม่พิมพ์ที่ทำขึ้นมาเพื่อนำไปใช้ในการปั้มลึก หรือปั้มนูน หรือปั้มไดคัทแล้วแต่ลักษณะของแม่พิมพ์
ใบแทรก ความหมายคล้ายกับหน้าแทรก ต่างกันตรงที่ใบแทรกมักไม่ถูกติดยึดอยู่กับสันหนังสือ หรือมีขนาดเล็กกว่าตัวเล่มหนังสือ ปรู๊ฟจากพริ้นเตอร์ เป็นการพิมพ์ภาพด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์พริ้นเตอร์ก่อนนำไปพิมพ์จริง ปกติมักใช้ดูข้อความ รูปแบบคร่าว ๆ แต่สีสันไม่สามารถใช้เป็นบรรทัดฐานได้ ปรู๊ฟดิจิตัล เป็นการพิมพ์ภาพด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์พริ้นเตอร์ขนาดใหญ่ (ใหญ่กว่าขนาดเพลทที่จะใช้พิมพ์จริง) เพื่อใช้ตรวจสอบความถูกต้องก่อนพิมพ์ สีที่ได้พอใกล้เคียงกับการพิมพ์จริง ปรู๊ฟแท่น เป็นการพิมพ์ภาพด้วยเครื่องพิมพ์ระบบออฟเซ็ทซึ่งอาจเป็นเครื่องพิมพ์จริงหรือเครื่องขนาดย่อมออกแบบมาเพื่อใช้ในการปรู๊ฟซึ่งพิมพ์ทีละหนึ่งสีจึงต้องพิมพ์หลายเที่ยวจนครบสี งานที่ได้สามารถใช้เป็นบรรทัดฐานสำหรับเปรียบเทียบได้ ปั๊มไดคัท (Diecutting) คือวิธีการที่โรงพิมพ์ขึ้นรูปกระดาษโดยการกดทับกระดาษให้ขาดตามรูปแบบที่ฝังใบมีดบนแม่พิมพ์ ปั๊มนูน (Embossing) คือวิธีการที่โรงพิมพ์ขึ้นรูปกระดาษโดยการกดทับกระดาษให้นูนขึ้นได้รูปลักษณ์ตามแบบของแม่พิมพ์ที่ใช้กดทับ ปั๊มฟอยล์เงิน/ทอง (Foil/Hot Stamping) คือกรรมวิธีที่โรงพิมพ์ทำภาพพิมพ์บนกระดาษโดยใช้แม่พิมพ์ที่มีความร้อนรีดแผ่นฟอยล์เงิน/ทองลงให้ติดผิวกระดาษให้เกิดภาพตามแม่พิมพ์ แผ่นฟอยล์ที่ใช้อาจมีสีหรือลวดลายเป็นอย่างอื่นก็ได้
ปั๊มลึก (Debossing) คือวิธีการที่โรงพิมพ์ขึ้นรูปกระดาษโดยการกดทับกระดาษให้ลึกลงได้รูปลักษณ์ตามแบบของแม่พิมพ์ที่ใช้กดทับ
ปีกปก บางครั้งลูกค้าของโรงพิมพ์มีการออกแบบให้มีส่วนของปกยื่นออกมาใหญ่กว่าขนาดของเล่มแล้วพับส่วนที่ยื่นออกมาทำให้ปกเสมอกับตัวเล่ม ส่วนที่ยื่นออกมานี้เรียกว่าปีกปก
โพสิทีฟ (Positive) ภาพบนแผ่นฟิล์มที่มีแสงสีตรงกับความเป็นจริง
ผ้ายาง ผ้ายางที่ใช้ในโรงพิมพ์เป็นแผ่นหนามีผิวนอกเป็นยางด้านหลังเป็นผ้า ในระบบการพิมพ์แบบออฟเซ็ท ผ้ายางเป็นตัวรับภาพของหมึกพิมพ์จากเพลท (แม่พิมพ์ภาพ) แล้วถ่ายทอดต่อไปยังกระดาษที่ต้องการพิมพ์ภาพ พับสองตอน คือการพับแผ่นพับ 1 ครั้ง ได้กระดาษ 2 ส่วน หักพับ 2 ครั้งในแนวขนานกัน จะได้เป็น 3 ส่วน เรียกว่าพับสามตอน พิมพ์สอดสี คือการพิมพ์ด้วยแม่สี 4 สีโดยพิมพ์ภาพพิมพ์ของแม่สีแต่ละสี (ภาพพิมพ์ซึ่งประกอบด้วยเม็ดสกรีนเล็ก ๆ มีความหนาแน่นต่าง ๆ กันตามลักษณะของภาพ) ทีละสีซ้อนทับกันจนได้เป็นภาพพิมพ์หลายหลากสีเลียนแบบภาพต้นฉบับ พิมพ์สี่สี คือการพิมพ์ด้วยสี 4 สีซึ่งมักจะหมายถึงแม่สีทั้งสี่โดยพิมพ์ทีละสีซ้อนทับกันเพื่อให้เกิดภาพพิมพ์หลายหลากสีเลียนแบบภาพต้นฉบับ พิมพ์สีเหลื่อม เป็นอาการของการพิมพ์ที่สีบางสีทับซ้อนคลาดเคลื่อนจากตำแหน่งที่ถูกต้อง ทำให้ภาพพิมพ์ไม่คมชัดและเห็นสีที่พิมพ์เหลื่อมออกมา เพลท เพลทที่ใช้ในโรงพิมพ์เป็นแผ่นอลูมิเนียมใช้เป็นแม่พิมพ์ภาพที่เกิดจากเม็ดสกรีน ทำหน้าที่รับหมึกจากลูกหมึกส่วนที่เป็นเม็ดสกรีนจะมีหมึกมาเกาะ แล้วถ่ายทอดภาพต่อไปยังผ้ายาง
เพลทตัดสอง คือขนาดของเพลทซึ่งทางโรงพิมพ์สามารถนำไปใช้พิมพ์แผ่นพิมพ์ขนาดตัดสองได้ คือขนาด 25 x 36 นิ้ว เพลทหลุด เป็นอาการที่ช่างพิมพ์ในโรงพิมพ์เรียกเพลทที่มีเม็ดสกรีนบางส่วนหลุดออกจากเพลท ทำให้ไม่สามารถรับหมึกในบริเวณนั้น ภาพที่พิมพ์ออกมาจึงไม่สมบูรณ์
|
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |