ReadyPlanet.com
dot
บริการงานพิมพ์ทั่วไป
dot
bulletแผ่นพับ/ใบปลิว : รับทำ/พิมพ์
bulletโบรชัวร์ : รับทำ/พิมพ์
bulletแคตตาล็อก : รับทำ/พิมพ์
bulletหนังสือ/วารสาร : รับทำ/พิมพ์
bulletนิตยสาร/แมกกาซีน : รับทำ/พิมพ์
bulletรายงานประจำปี : รับทำ/พิมพ์
bulletโปสเตอร์ : รับทำ/พิมพ์
bulletปฏิทิน : รับทำ/พิมพ์
bulletการ์ด/บัตรเชิญ : รับทำ/พิมพ์
bulletนามบัตร : รับทำ/พิมพ์
bulletหัวจดหมาย : รับทำ/พิมพ์
bulletซองกระดาษ : รับทำ/พิมพ์
bulletแฟ้มกระดาษ : รับทำ/พิมพ์
bulletแบบฟอร์ม : รับทำ/พิมพ์
bulletสิ่งพิมพ์อื่นๆ : รับทำ/พิมพ์
dot
บริการงานพิมพ์บรรจุภัณฑ์
dot
bulletฉลากสินค้า : รับทำ/พิมพ์
bulletกล่องบรรจุภัณฑ์ : รับทำ/พิมพ์
bulletถุงกระดาษ : รับทำ/พิมพ์
dot
บริการด้านอื่น ๆ
dot
bulletรับออกแบบจัดทำต้นฉบับ
bulletรับถ่ายภาพ/ทำรีทัช
dot
เรื่องของกระดาษ
dot
bulletกระดาษ: ความหมาย/ความเป็นมา
bulletองค์ประกอบของกระดาษ
bulletสมบัติเชิงโครงสร้างของกระดาษ
bulletกระบวนการผลิตกระดาษ
bulletชนิดของกระดาษ
bulletมาตรฐานขนาดของกระดาษ
bulletการใช้กระดาษสำหรับงานพิมพ์
dot
เรื่องของการพิมพ์
dot
bulletการพิมพ์: ความหมาย/วิวัฒนาการ
bulletประวัติการพิมพ์ในเมืองไทย
bulletประเภทของการพิมพ์
bulletขบวนการผลิตสิ่งพิมพ์
bulletหลักการเลือกใช้โรงพิมพ์
dot
เรื่องของการออกแบบสิ่งพิมพ์
dot
bulletขบวนการการออกแบบสิ่งพิมพ์
bulletองค์ประกอบและหลักการออกแบบสิ่งพิมพ์
bulletการจัดเลย์เอ้าท์โดยใช้กริด
dot
เรื่องของการถ่ายภาพ
dot
bulletประวัติของกล้องถ่ายภาพ
bulletหลักการทำงานของกล้อง
dot
เรื่องน่ารู้
dot
bulletขั้นตอนการสั่งทำงานพิมพ์
bulletข้อควรระวังในการออกแบบสิ่งพิมพ์
bulletRGB vs CMYK
bulletColour Chart vs โรงพิมพ์
bulletการจดหัวหนังสือ vs โรงพิมพ์
bulletข้อแนะนำในงานพิมพ์ออฟเซ็ท
bulletสิ่งพิมพ์โฆษณา/ประชาสัมพันธ์
bulletคุณภาพงานพิมพ์ขึ้นอยู่กับ...
dot
อื่น ๆ
dot
bulletSite Map
bulletบริหารและจัดการ


โรงพิมพ์,งานพิมพ์,พิมพ์งาน


คำถามเกี่ยวกับเทคนิคการพิมพ์

 

 

พิมพ์บนวัสดุอะไรได้บ้างนอกจากกระดาษ ?
    โรงพิมพ์ของเราจะเน้นงานพิมพ์ที่ใช้วัสดุเป็นกระดาษเป็นหลัก ซึ่งมีกระดาษปอนด์ กระดาษอาร์ต อาร์ตการ์ด กระดาษกล่อง กระดาษปรู๊ฟ นอกจากนี้ยังใช้กระดาษแฟนซีต่าง ๆ กระดาษรีไซเคิล สติ๊กเกอร์กระดาษ

 

มีการตรวจสอบความถูกต้องก่อนพิมพ์อย่างไรบ้าง ?
    เมื่อรับ file งานมา ทางโรงพิมพ์ของเราจะจัดทำปรู๊ฟจากพริ้นเตอร์ และ/หรือดิจิตอลปรู๊ฟ และ/หรือปรู๊ฟจากแท่นปรู๊ฟ ขึ้นกับความยากง่ายของแต่ละงานและข้อตกลงระหว่างกัน ลูกค้าสามารถตรวจสอบความถูกต้องเมื่อได้รับปรู๊ฟแต่ละประเภท สำหรับการตรวจสอบสีของภาพนั้น ให้ยึดปรู๊ฟจากแท่นปรู๊ฟเป็นหลักเนื่องจากระบบการพิมพ์ใกล้เคียงกับเครื่องพิมพ์ที่สุด

ทำไมภาพที่พิมพ์ออกมาจากเครื่องพิมพ์ออฟเซ็ทจึงมีสีไม่เหมือนภาพบนหน้าจอ ?
    เหตุที่ภาพที่พิมพ์ออกมาจากเครื่องพิมพ์ออฟเซ็ทปรากฏสีไม่เหมือนภาพบนหน้าจอ เพราะภาพบนสิ่งพิมพ์เกิดจากการผสมสีแบบ CMYK ต่างจากภาพบนจอคอมพิวเตอร์ซึ่งเกิดจากการผสมสีแบบ RGB อาณาบริเวณของสี(Gamut) ในระบบ RGB กว้างกว่าของสีในระบบ CMYK สีบางสีที่เห็นในระบบ RGB จะไม่สามารถปรากฏได้ในระบบ CMYK
อ่านเพิ่มเติมได้ในหัวข้อเรื่อง
RGB vs CMYK

 

ทำไมสีของงานพิมพ์จึงไม่เหมือนกับสีของปรู๊ฟ ?
    งานพิมพ์เทียบกับปรู๊ฟจากเครื่อง printer Computer printer ใช้หมึกคนละประเภทกับงานพิมพ์ออฟเซ็ท หากเป็นหมึก inkjet จะให้สีที่สดใสกว่า  หากเป็นหมึกของเครื่อง laser printer เฉดสีจะจืดกว่าของ inkjet แต่ก็ยังไม่เหมือนเฉดสีของหมึกออฟเซ็ท
    งานพิมพ์เทียบกับ digital proof Digital proof โดยทั่วไปใช้หมึก inkjet แต่จะมีระบบจัดการสีให้เกิดเฉดสีใกล้เคียงกับเฉดสีของระบบออฟเซ็ท ในปัจจุบัน นิยมใช้การปรู๊ฟระบบนี้มากเพราะประหยัดและรวดเร็ว
    งานพิมพ์เทียบกับปรู๊ฟแท่น ระบบของแท่นปรู๊ฟจะเลียนแบบระบบของเครื่องพิมพ์ออฟเซ็ท แต่จะมีลูกหมึกน้อยกว่า ดังนั้นเฉดสีจากงานพิมพ์จริงจึงสามารถทำให้ได้ใกล้เคียงกับเฉดสีจากแท่นปรู๊ฟดีกว่าการปรู๊ฟในระบบอื่น อนึ่ง แท่นปรู๊ฟโดยทั่วไปจะพิมพ์ได้ทีละสี อีกทั้งลักษณะการทำงานยังต่างจากเครื่องพิมพ์จริง ในบางครั้งบางกรณี ภาพจากงานพิมพ์จริงก็ยังต่างจากภาพจากปรู๊ฟแท่นอยู่บ้าง

ทำไมตัวข้อความบางส่วนตกขอบของหน้าหนังสือ ?
    ในการจัดทำอาร์ตเวิร์คของงานพิมพ์ จำเป็นต้องกำหนดพื้นที่โดยรอบขนาดจริงของชิ้นงานหรือหน้าหนังสือแต่ละหน้าดังนี้ ขอบนอกสุด คือขอบของพื้นที่ที่ขยายออกจากพื้นที่จริง เพื่อเป็นการเผื่อให้กับความคลาดเคลื่อนในการตัดเจียน ในทางกลับกันก็จะมีขอบทำงาน คือขอบของพื้นที่ที่หดจากพื้นที่จริง มีไว้เพื่อกำหนดไม่ให้ข้อความหรือส่วนสำคัญของภาพเลยออกนอกพื้นที่ทำงานนี้ เมื่อมีความคลาดเคลื่อนเวลาตัดเจียน ข้อความหรือภาพที่สำคัญก็จะไม่ถูกตัดขาดหายไป อ่านเพิ่มเติมได้จากหัวข้อเรื่อง
ข้อคิดในการออกแบบสิ่งพิมพ์